28 พฤษภาคม 2564 วิวัฒนาการของสัตว์กินพืชหลังการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2102490

หลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดอย่างการสูญพันธุ์ปลายยุคเพอร์เมียน (End Permian Extinction) ระบบนิเวศที่สร้างขึ้นใหม่ก็เริ่มต้นในช่วงยุคไทรแอสซิกตั้งแต่ ๒๕๒–๒๐๑ ล้านปีก่อน และปูทางไปสู่การก่อเกิดสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ชนิดใหม่มากมาย เมื่อเร็ว ๆนี้ มีรายงานวิจัยของทีมผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โลก แห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษ พบหลักฐานใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของการฟื้นตัวหลังการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ นักวิจัยระบุว่า วิวัฒนาการของสัตว์กินพืชเชื่อมโยงกับพืชที่รอดชีวิตและปรับตัวได้หลังจากการล้มหายตายจากครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ ๙๐ ในโลกเมื่อ ๒๕๒ ล้านปีก่อน ทว่าสัตว์กินพืชที่มีชีวิตเหลือรอดและก่อเกิดในเวลาต่อมา กลับมีความหลากหลายอย่างรวดเร็วหลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นั้น ซึ่งหมายรวมถึงไดโนเสาร์รุ่นแรก ๆ ด้วย จากการศึกษาฟอสซิลกรามหลายร้อยชิ้นและเปรียบเทียบรูปร่างของพวกมันกับสัตว์ที่มีชีวิต จากนั้นประมาณค่าการทำงานที่สำคัญจากฟอสซิลกรามดังกล่าว เช่น ความได้เปรียบเชิงกล แรงกัด การวัดการงัดของกรามว่ามันสามารถหุบได้เร็วหรือแรงเพียงใด ผลที่ได้นักวิจัยสรุปว่าสัตว์กินพืชที่เกิดขึ้นหลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดอย่างการสูญพันธุ์ปลายยุคเพอร์เมียน ปรับวิวัฒนาการให้กินพืชชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น สามารถเคี้ยวอาหารที่แข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการณ์อันแห้งแล้งของปลายยุคไทรแอสซิก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content