28 กุมภาพันธ์ 2563 ไฟป่าไหม้ทับลาน ลามแล้ว 3,000 ไร่ คืบสู่วังนํ้าเขียว เขาใหญ่ปะทุอีก

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/east/1782366

ไฟป่าเขาใหญ่ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง เมื่อกลางดึกวันที่ 27 ก.พ. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ใช้อากาศยานไร้คนขับบินสำรวจไฟป่าบนยอดเขาสมอปูน ต. เนินหอม อ. เมืองปราจีนบุรี จ. ปราจีนบุรี หลังรับแจ้งพบจุดความร้อนขึ้นมาอีกครั้ง พบไฟป่าลุกลามหลายจุดจากเขาสมอปูนข้ามยอดเขาลงไปยังทุ่งหญ้าด้านล่างเข้าใกล้ป่าดงดิบกลางพื้นที่เขาใหญ่ นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานฯ เขาใหญ่ ต้องส่งชุดเสือไฟ และชุดไฟป่า 60 นาย นั่งเฮลิคอปเตอร์ไปลงบนสันเขื่อนเขาไม้ปล้องแล้วเดินตามสันเขาสมอปูน เพื่อทำแนวกันไฟไม่ให้ลุกลาม นายครรชิตเปิดเผยว่า เมื่อบ่ายวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ใช้เฮลิคอปเตอร์ KA32 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศบรรทุกน้ำ และสารเคมีโปรยขึ้นดับไฟบนยอดเขาสมอปูนจนสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในระดับหนึ่ง ระหว่างทำแนวกันไฟพบไฟป่าลุกไหม้อยู่ที่พิกัด P 11-12 บนยอดเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เมื่อคืนขณะเจ้าหน้าที่ชุดเสือไฟจากนครราชสีมาเข้าไปดับไฟบนสันเขา พบช้างป่าขวางทางเดิน ถึงแม้เจ้าหน้าที่จะหยุดรอเป็นเวลานาน แต่ช้างไม่ยอมไปไหน ทำให้ทั้งหมดต้องหยุดพัก กระทั่งเช้าพบว่าจุดที่ช้างยืนขวางเป็นหน้าผาเหวลึกไปต่อไม่ได้ จึงยุติการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนสถานการณ์ไฟป่าเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน อ. นาดี จ. ปราจีนบุรี ที่ลุกลามมาแล้วกว่า 10 วัน ส่งผลให้ป่าถูกเผาวอดเสียหายไปแล้วกว่า 3,000 ไร่ ล่าสุดไฟป่าลุกลามจากพื้นที่ ต. บุพราหมณ์ อ. นาดี เข้าพื้นที่บ้านสวนห้อม ต. วังน้ำเขียว อ. วังน้ำเขียว จ. นครราชสีมา รวมถึงลามเข้าบริเวณอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา ต.แก่งดินสอ อ. นาดี และเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถเข้าควบคุมไฟป่าได้

ที่ จ. จันทบุรี ไฟป่าเขามาบคล้ารอยต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย อ. มะขาม กับ อ. โป่งน้ำร้อนดับลงแล้ว แต่ยังมีไฟคุกรุ่นหลายจุด ส่งผลให้หมอกควันลอยปกคลุมพื้นที่ชายแดน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี ตรวจสอบพบค่าฝุ่นละอองยังอยู่ในเกณฑ์สีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงแจ้งเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ส่วนความเสียหายพบสวนทุเรียนและสวนลำไยบริเวณเขาหยุด เขาเจดีย์ คลองตาเมือง หมู่ 8 ต. ฉมัน อ. มะขาม ถูกไฟไหม้เสียหายประมาณ 100 ต้น

ที่ จ.เพชรบูรณ์ เกิดไฟป่าบนเทือกเขาเล็งลุกลามไหม้ป่าท้ายหมู่บ้านหมู่ 8 บ้านบุมะกรูด ต. ท่าโรง อ. วิเชียรบุรี และเริ่มขยายวงกว้างเข้าใกล้เขตชุมชน ขณะที่รีสอร์ตและห้องพักรายวันตั้งอยู่หน้าถนนสาย 2275 (วิเชียรบุรี-โคกปรง) และด้านหลังเป็นป่าหญ้าขึ้นรกสูงเชื่อมต่อพื้นที่ป่าเชิงเขา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกไฟไหม้ ชาวบ้านต้องขอรถน้ำ อบต.โคกปรง อ. วิเชียรบุรี มาช่วยแต่น้ำมีไม่พอ จึงต้องทำแนวกันไฟและผลัดเวรกันเฝ้าระวังไม่ให้ลุกลามไหม้บ้าน

นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผวจ. แม่ฮ่องสอน เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง หลังพบจุดความร้อนสะสมเพิ่มขึ้น และฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ อ. เมืองแม่ฮ่องสอน อ. ปาย และ อ. แม่สะเรียง ล่าสุดที่ ต. จองคำ อ. เมืองแม่ฮ่องสอน สูงถึง 170 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยที่ประชุมกำหนดให้พื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตรจากศูนย์กลาง อ. เมืองแม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง และปาย เป็นเขตควบคุมพิเศษพื้นที่ปลอดหมอกควัน

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 62 สถานี ระหว่าง 29 – 57 มคก./ลบ.ม. มาตรฐานอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐาน 9 สถานี ส่วนภาคเหนือวัดได้ 50 – 170 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานในระดับกระทบสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) 2 สถานี หนักสุดที่ ต. จองคำ อ. เมืองแม่ฮ่องสอน 170 มคก./ลบ.ม. และ ต. ช่างเคิ่ง อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 112 มคก./ลบ.ม. นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเผยว่า พื้นที่ จ. แม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดน คพ.ประสานจังหวัดเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อควบคุมไฟในพื้นที่และออกประกาศห้ามเผา ส่งผลให้จุดความร้อนลดลงจาก 179 จุด เหลือ 90 จุด อย่างไรก็ตาม จากสภาพอากาศขณะนี้ประกอบกับยังคงมีหมอกควันทั้งในและนอกพื้นที่มาสะสมเพิ่มเติม ทำให้ฝุ่นละอองยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งยังรุนแรงหลายพื้นที่ โดยที่ จ. นครพนม แม่น้ำโขงลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดระดับน้ำเหลือ 80 ซม. ต่ำสุดในรอบ 50 ปี บางจุดเกิดสันดอนทรายเป็นบริเวณกว้างระยะทางยาวกว่า 1 กม. กระทบต่ออาชีพหาปลา และเกษตรกรที่ต้องสูบน้ำทำการเกษตรไกลขึ้น ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเท่าตัว ด้านนายไพฑูรย์ สุขต่าย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดนครพนมเผยว่า ปีนี้ภาพรวมใน 12 อำเภอ จ. นครพนม ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างหนัก ต้นเหตุสำคัญมาจากการสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงในประเทศจีน และ สปป.ลาว รวมถึงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสะสมปี 62 ต่ำ

ที่ จ. อุดรธานี นายอภิชาต ชุมนุมมณี ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุดรธานี และนายสมพร คมขำ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ ลงสำรวจลำน้ำห้วยหลวงจากประตูระบายน้ำบ้านสามพร้าว ต. สามพร้าว อ. เมืองอุดรธานี ไปถึงบ้านท่าหลักดิน ต. นาบัว อ. เพ็ญ จ. อุดรธานี หลังได้รับการร้องขอจากชาวนาให้เปิดประตูระบายน้ำไปช่วยข้าวนาปรัง นายบุญรอง หอมหวน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านท่าหลักดินกล่าวว่า ช่วงหน้าฝนปีที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมหนัก ทำให้ข้าวนาปีเสียหายหมด ชาวบ้านจำเป็นต้องทำนาปรัง เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีข้าวกิน นาปรังบางส่วนเก็บเกี่ยวแล้ว แต่ส่วนใหญ่อีกราว 1,000 ไร่เศษยังต้องการน้ำอีก 20 – 30 วัน แต่น้ำที่เหลือไม่น่าจะพอ จึงขอให้ชลประทานเปิดประตูน้ำไปช่วย เพราะหากไม่มีน้ำข้าวที่ออกรวงแล้วจะเสียหาย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content