27 มีนาคม 2563 วิจัยซากออสตราโลพิเธคัส อายุกว่า 3 ล้านปี

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1805046

กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกนับเป็นชิ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในทางชีววิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง นอกจากทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างศีรษะและคอแล้ว ยังทำหน้าที่ในการส่งเลือดไปยังสมองผ่านทางหลอดเลือดแดงเส้นใหญ่ ทีมวิจัยนำโดยมหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สแรนด์ในประเทศแอฟริกาใต้เผยว่า จากการศึกษากะโหลกศีรษะซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลมนุษย์อายุ 3,670,000 ปี ที่รู้จักกันดีในชื่อ “ลิตเติล ฟุต” (Little Foot) โดยถูกจัดไว้ในกลุ่มของมนุษย์ออสตราโลพิเธคัส (Australopithecus) เมื่อนำไปสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร ก็เผยให้เห็นว่ามีกระดูกคอที่สมบูรณ์ที่สุดจึงมีการเปรียบเทียบกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกของลิตเติล ฟุต กับซากฟอสซิลอื่นๆ จากทางใต้และทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา รวมถึงมนุษย์ที่มีชีวิต และชิมแปนซี ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ออสตราโลพิเธคัสนั้นมีการเคลื่อนไหวศีรษะแตกต่างจากมนุษย์ยุคใหม่ ซึ่งอธิบายได้จากความสามารถในการปีนป่าย

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ออสตราโลพิเธคัสทางใต้ของแอฟริกา ที่มีอายุน้อยกว่าลิตเติล ฟุต ประมาณกว่า 1 ล้านปี อาจสูญเสียความสามารถในการปีนป่ายไปบางส่วนและใช้เวลาบนพื้นดินมากขึ้น ซึ่งการวิจัยนี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการเคลื่อนไหวศีรษะและการจัดส่งของหลอดเลือด ไปยังส่วนสมองในเชื้อสายของมนุษย์

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content