27 มกราคม 2564 นักวิจัย มอ. พบแมลงวันขายาวชนิดใหม่ของโลก

ที่มา: https://siamrath.co.th /n/215100

ดร. อับดุลเลาะห์ ซาเมาะ นักวิจัยด้านอนุกรมวิธานของแมลงวันขายาว และแมลงวันเหาค้างคาว เปิดเผยเรื่องราวการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกในสกุลแมลงวันขายาว คือ แมลงวันขายาวปีเตอร์อาจารย์จุฑามาส แมลงวันขายาวชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกจากหน่วยวิจัยป่าชายเลนตำมะลัง อ. เมืองสตูล จ. สตูล ซึ่งในขณะนั้นตนกำลังทำงานวิจัยอยู่ในระดับปริญญาเอก ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และทีมจากประเทศเบลเยี่ยม โดยค้นพบเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๔ จนกระทั่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. ๒๐๑๕

แมลงวันขายาวปีเตอร์อาจารย์จุฑามาส มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ngirhaphiumchutamasae เป็นแมลงวันขายาวขนาดใหญ่ สามารถพบได้ในป่าชายเลน โดยเฉพาะป่าชายเลนที่ติดกับทะเลเปิด หรือคลองป่าชายเลนชั้นในที่มีพื้นที่ดินเลนกว้าง และในช่วงเวลาที่น้ำทะเลลดลงสูงสุด รวมทั้งสภาพน้ำที่เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย ซึ่งขณะนี้พบได้ที่ป่าชายเลนตำมะลังเพียงแห่งเดียวเท่านั้น สำหรับชื่อที่ตั้งเอาไว้นั้น เพื่อเป็นเกียรติแก่รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑามาส ศตสุข อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนักวิจัยในขณะนั้น และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ ม.อ. และ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ลักษณะเด่นของแมลงวันขายาวชนิดนี้คือ ลำตัวมีสีเขียวอมทอง มีความยาวลำตัวประมาณ ๗ มม. มีปล้องหนวดหนา และใหญ่ ส่วนที่ยื่นออกจากทางด้านล่างของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้มีลักษณะคล้ายรองเท้าบู๊ต ตัวเล็กสุดจะมีขนาดประมาณ ๑ มม. และใหญ่สุดประมาณ ๖ – ๗ มม. นอกจากนั้น แมลงวันขายาวชนิดนี้ยังมีบทบาทเป็นแมลงวันนักล่าในระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องจากมันกินลูกน้ำ และตัวอ่อนของริ้นน้ำเค็มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคน หรือสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ เปรียบเสมือนตัวควบคุมความสมดุลของระบบนิเวศให้มีความสมบูรณ์ และจำนวนแมลงวันขายาวชนิดนี้ไม่ว่าจะมีมากหรือน้อย ก็จะไม่ทำอันตราย หรือส่งผลกระทบต่อคนหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ แมลงวันขายาวชนิดนี้สามารถพบได้เฉพาะถิ่นเท่านั้น และเป็นดัชนีชี้วัดแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศป่าชายเลน เนื่องจากป่าชายเลนยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จะยังพบแมลงวันขายาวชนิดนี้ หากถูกรบกวนโดยคนที่ไปบุกรุก หรือทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าชายเลนตามธรรมชาติ ทั้งอุณหภูมิ หรือความร้อนของดินเลน ก็จะสามารถสังเกตได้จากแมลงวันขายาวชนิดนี้ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง หรือสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์รับมือ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลนได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content