27 พฤษภาคม 2563 ฝนตกในพื้นที่ภาคอีสานกลาง ส่งผลดีน้ำไหลเข้าอ่างฯ วอนเกษตรกรใช้น้ำฝนทำการเพาะปลูกเป็นหลัก เน้นเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต

ที่มา: http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200527094111711

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ ๖ เปิดเผยว่า ตามที่ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานวางมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี ๒๕๖๓ โดยให้เน้นการกักเก็บน้ำ เพื่อจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ซึ่งในช่วงนี้พื้นที่ภาคอีสานตอนกลางมีฝนตกลงมาหลายพื้นที่ ส่งผลดีทำให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ตั้งแต่วันที่ ๑๘ – ๒๗ พ.ค. ๒๕๖๓ ประมาณ ๔๖.๕๔ ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ ๓ แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกัน ๑,๐๒๗ ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ ๒๒ ของความจุอ่างฯ มีน้ำไหลเข้าอ่างฯ สะสม รวม ๓๔.๒๖ ล้านลูกบาศก์เมตร  โดยที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น มีปริมาณน้ำไหลเข้าประมาณ ๑๑.๓๕ ล้านลูกบาศก์เมตร  เขื่อนลำปาว จ. กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้า ๒๒.๐๓ ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนจุฬาภรณ์ จ. ชัยภูมิ มีน้ำไหลเข้า ๐.๘๘ ล้านลูกบาศก์เมตร 

สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ๖๙ แห่งในพื้นที่ ๕ จังหวัด (ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ ๑๐๙ ล้านลูกบาศก์เมตร  คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของความจุอ่างฯ รวมกัน มีน้ำไหลเข้าสะสม (รวม ๑๒.๒๘ ล้านลูกบาศก์เมตร  จะเห็นได้ว่าฝนที่ตกลงมาในพื้นที่อีสานกลางทั้ง ๕ จังหวัด ยังไม่มีรายงานพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังได้รับความเสียหาย มีเพียงแค่พื้นที่ที่มีน้ำขังรอการระบาย เช่นเมื่อวันที่ ๒๕ พ.ค. ๖๓ ที่ผ่านมาได้เกิดฝนตกหนักในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ส่งผลให้เกิดน้ำขังรอการระบายในพื้นที่ลุ่มต่ำ สำนักงานชลประทานที่ ๖ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และเร่งสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำที่ถูกน้ำท่วมขัง จนสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน ๒ ชม. โดยสำนักงานชลประทานที่ ๖ ได้นำเครื่องสูบน้ำเข้าไปติดตั้งในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงแล้วจำนวน ๑๑ เครื่อง ซึ่งพร้อมเดินเครื่องสูบน้ำได้ทันทีที่เกิดน้ำท่วมขัง

 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในระยะนี้กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว อีกทั้งในหลายพื้นที่มีฝนตกลงมาพอสมควร แต่ประมาณ เดือน มิ.ย. ไปจนถึงเดือน ก.ค. ฝนอาจจะน้อยหรือเกิดภาวะทิ้งช่วงได้ จึงขอให้เกษตรกรเริ่มทำการเพาะปลูกเมื่อเห็นว่ามีปริมาณฝนตกชุกหรือมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตร โดยขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ส่วนน้ำต้นทุนที่มีอยู่หากมีปริมาณเพียงพอเหมาะสมก็จะสนับสนุนการเกษตรเพื่อเสริมฝนกรณีฝนทิ้งช่วง และจะสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์ให้เพียงพอจนถึงสิ้นฤดูแล้ง ๖๓/๖๔

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content