26 เมษายน 2563 ฉากชีวิต “ทีมกำจัดขยะโควิด-19” ภารกิจสำคัญ “สู้สงครามไวรัส”

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/770935

“การจัดเก็บขยะติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด เป็นหน้าที่ของทีมเรา โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที ได้มอบหมายให้ดำเนินภารกิจจัดเก็บขยะติดเชื้อ ซึ่งก็คือ ขยะที่ปนเปื้อนเชื้อโรคที่จัดเก็บจากโรงพยาบาล ศูนย์สาธารณสุข และสถานบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งจริง ๆ ทีมนี้มีมาตั้งแต่ปี 2541 แล้ว แต่เพิ่งจะเริ่มเป็นที่รู้จักก็ในวิกฤติโควิดครั้งนี้”

เสียงจาก ขจร พาสอน หนึ่งในเจ้าหน้าที่ของทีมงานทีมนี้ เล่าถึง “ที่มา” ของ “ทีมจัดเก็บขยะติดเชื้อ” ทีมนี้ให้ “ทีมวิถีชีวิต” ฟัง พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับหน้าที่ของทีม จะมีหน้าที่ในการจัดเก็บและกำจัดขยะปนเปื้อนหรือขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาลต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยถือเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในงานกำจัดขยะติดเชื้อของประเทศ ไทยอีกหน่วยงานหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม แม้ทีมนี้จะก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2541 แต่สังคมก็ไม่ค่อยได้รับรู้เรื่องราวการทำงานของทีมเบื้องหลังทีมนี้ในฐานะ “นักรบกำจัดขยะติดเชื้อโรคให้กับคนกรุงเทพฯ” มากนัก จนเมื่อเกิดวิกฤติ “โควิด-19” สังคมไทยจึงเริ่มได้รับทราบเรื่องราวของทีมงานเบื้องหลังทีมนี้มากขึ้น โดย ขจร บอกว่า ช่วงแรก ๆ ที่เริ่มพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนแรก ๆ งานก็ยังไม่หนักมาก เพราะมีโรงพยาบาลแค่ 2-3 แห่งเท่านั้นที่ต้องไปจัดเก็บขยะปนเปื้อนเชื้อโรค แต่พอตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งพรวดเป็นหลักพัน จำนวนสถานพยาบาลที่ทีมงานจะต้องไปจัดเก็บขยะติดเชื้อก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
        
“จากตอนแรกมีแค่ 2-3 แห่ง แต่พอผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เราก็ต้องออกไปจัดเก็บขยะติดเชื้อ รวมถึงอุปกรณ์ที่หมอและพยาบาลใช้แล้ว เพื่อนำไปทำลายทิ้งมากกว่า 20 แห่ง แทบทุกวัน” ขจร เล่าให้เราฟังถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤติโควิดเริ่มรุนแรงหนัก

ส่วนใน “วิกฤติโควิด” ครั้งนี้ เราถามเขาว่า…การทำงานต้องเปลี่ยนไปจากเดิมมากไหม? ซึ่ง ตี๋ บอกว่า รูปแบบการทำงานไม่ค่อยมีอะไรที่เปลี่ยนแปลง เพราะหลักการสำคัญในการทำงานก็ยังคงต้องยึดหลัก “ระวัง-ไม่ประมาท” อยู่เช่นเดิม เพียงแต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิดทีมงานทุกคนก็ถูกเรียกตัวเข้าไปรับการอบรมแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสูงสุดจากทางผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะถือเป็นโรคระบาดอันตรายร้ายแรง ทำให้ทีมงานจึงต้องเพิ่มการใส่ชุดป้องกันที่เข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม โดยชุดที่สวมใส่จะคลุมลงมาตั้งแต่ศีรษะ คอ ต้องสวมแว่นตา และต้องเน้นให้ร่างกายทุกส่วนอยู่ภายในชุดป้องกันการติดเชื้อทั้งหมด รวมถึงต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทุกขั้นตอน ทั้งฉีดที่ตัวเอง ทั้งฉีดไปที่ขยะที่จัดเก็บ หรือแม้แต่รถบรรทุกขยะ ก็ต้องฉีดฆ่าเชื้อทั้งขาไป-ขากลับ และเมื่อปฏิบัติงานเสร็จก็ต้องถอดชุดทิ้งไปกับขยะที่จัดเก็บเลย

“การกำจัดขยะติดเชื้อนั้น เมื่อนำขยะไปถึงโรงงาน ก็ต้องใส่ชุดป้องกันชุดใหม่ และฉีดน้ำยาทุกขั้นตอน จนนำขยะใส่ในถังและเข็นนำเข้าระบบส่งขึ้นเตาเผาขยะในทันที ซึ่งปกติก็จะมีหลักเซฟตี้ที่เป็นมาตรฐานของผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว แต่พอเกิดโควิด มาตรฐานก็ยิ่งต้องเข้มข้นเพิ่มขึ้น ต้องละเอียด ใส่ใจ และยิ่งต้องระมัดระวัง พูดง่าย ๆ ต้องรัดกุมรอบคอบทุกขั้นตอน ประมาทไม่ได้เลย” ตี๋ หนึ่งใน “ทีมนักรบเบื้องหลัง” ทีมนี้บอก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content