26 สิงหาคม 2563 ระดมปลูกป่าฟื้นชายทะเลบางขุนเทียน พบดินงอก ๘๕ ซม.

ที่มา:

https://www.dailynews.co.th/bangkok/791876

พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการดำเนินโครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา และตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามคลองพิทยาลงกรณ์ และการก่อสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (คู่ขนาน) หรือสะพานทางเดิน – ทางจักรยานเลียบชายทะเล  การปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนชายทะเลบางขุนเทียน และการก่อสร้างศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเขตบางขุนเทียน บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองพิทยาลงกรณ์  การก่อสร้างสะพานข้ามคลอง และสะพานทางเดิน – ทางจักรยานเลียบชายทะเลนั้น เป็น ๑ ในแผนพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน และเส้นทางสัญจรของชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน เพื่อให้ผู้ที่มาเที่ยวชมศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติป่าชายเลนได้สัญจรสะดวกและปลอดภัยขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกในการสัญจรแก่คนในชุมชนด้วย มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ก.ย. ๖๓ นายพลเฉลิม ศรมณี ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียนกล่าวว่า ตลอด ๓ ปีกว่าที่ดำเนินการปลูกป่าชายเลนทะเลบางขุนเทียน ตามโครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา เพื่อเปลี่ยนป่าเสื่อมโทรมให้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแนวป้องกันคลื่น ทำให้ได้ระบบนิเวศที่ดีคืนมา มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น อาทิ ปลาตีน ซึ่งเป็นสัตว์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ จากการร่วมกันทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนของทั้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวกว่า ๓๐,๐๐๐ คนที่มองเห็นความสำคัญของการช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ และการป้องกันชายฝั่ง ทำให้ปัจจุบันเรามีแนวความหนาของป่าเกิดขึ้นแล้วร้อยละ ๓๐ ปลูกต้นกล้าโกงกางไปแล้วจำนวน ๑๗๖,๐๐๐ ต้น รวมพื้นที่ปลูกป่าชายเลนแล้ว ๒๒๐ ไร่ การทำแนวไม้ไผ่ปิดกั้นคลื่นระยะทาง ๒,๒๐๐ ม. ใช้ไม้ไผ่จำนวน ๒๗๑,๒๐๕ ลำ (แนวเดิม ๙๕,๙๐๑ ลำ) บางส่วนผุพังไปตามกาลเวลา ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม การนำเสาไฟฟ้ามาปักระยะทาง ๒๘๓ ม. ใช้เสาไฟฟ้าจำนวน ๑,๗๘๒ ต้น ได้รับเสาไฟฟ้าไม่ใช้แล้วจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แต่จะต้องเสียค่าดำเนินการปักเอง  ซึ่งจากการดำเนินการทั้ง ๓ แนวทางเพื่อปิดกั้นคลื่นนั้น ทำให้มีจำนวนตะกอนดินเพิ่มขึ้น ๒๐ – ๘๕ ซม.นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการคณะทำงานพัฒนาและฟื้นฟูแนวชายฝั่ง และป่าชายเลนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน  ซึ่งมีนายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานการประชุม  ยังได้หารือถึงแนวทางในการนำดินจากการขุดลอกของกรมเจ้าท่ามาถมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูป่าชายเลนเพิ่มเติมด้วย โดยสำนักการระบายน้ำจะประสานหาแนวทางและวิธีการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียนกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาในการปลูกต้นกล้าโกงกางให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงนั้น มีปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ต้นกล้าโกงกางบางส่วนตายไป อาทิ สภาพดินเลน และน้ำบริเวณแปลงปลูกมีความร้อนค่อนข้างสูง ได้รับผลกระทบจากคลื่นทะเลโดยตรง สำหรับแปลงที่อยู่ติดกับทะเล เป็นสาเหตุให้ต้นโกงกางเติบโตค่อนข้างช้า จึงคิดค้นนวัตกรรมในการปลูกต้นกล้าโกงกาง ในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย ๑. ทดลองปลูกในกระบะรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยนำกระเบื้องหลังคามาล้อมทำรั้วสูงจากพื้นดินประมาณ ๑.๒๐ ม.  ๒. ทดลองทำคอนโดต้นกล้า โดยนำวงท่อซีเมนต์สูงขนาด ๔๐ ซม. จำนวน ๖ ท่อต่อกัน เพื่อยกต้นกล้าให้สูงพ้นน้ำทะเล และ ๓. ทดลองปลูกในเข่งไม้ไผ่ โดยนำเข่งไม้ไผ่ขนาดสูง ๖๐ ซม. กว้าง ๗๐ ซม. วางซ้อนกัน ๒ ชั้น ชั้นแรกใส่ดินปักไม้ไผ่ยึดไว้ แล้วนำเข่งที่มีต้นกล้าวางทับลงไป เพื่อยกต้นกล้าให้พ้นน้ำป้องกันผลกระทบจากคลื่นทะเล  จากการทดลองนั้นพบว่า สามารถเพิ่มอัตราการรอดให้ต้นกล้าสามารถเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content