26 มีนาคม 2567 นักวิจัย มจธ. พบเทคนิคจัดการขยะอาหารเป็น ‘ไบโอชาร์’เปลี่ยนของเสียชุมชนเป็นพลังงานทดแทน

การจัดการขยะอาหารโดยนำไปวิจัย เพื่อเปลี่ยนเป็นไบโอชาร์

ที่มา https://mgronline.com/science/detail/9670000026107

ปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังจับตามองเพราะในปี 2562 พบว่าทั่วโลกมีปริมาณอาหารขยะมากกว่า 931 ล้านตัน จากการรายงานของ Food Waste Index Report 2021 โดยโครงการสิ่งแวดล้อม
แห่งสหประชาติ (UNEP) ซึ่งนอกจากจะเป็นการทิ้งอาหารให้สูญเปล่าแล้วยังเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์มลพิษ
ของประเทศไทยปี 2565 โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบว่าในปี 2565 มีขยะอาหารสูงถึง 9.68 ล้านตัน โดยคิดเป็นสัดส่วนของขยะอาหารในขยะมูลฝอยชุมชนสูงถึง 38% ซึ่งขยะอาหารส่วนมากจะเป็นเปลือกผลไม้และส่วนที่รับประทานไม่ได้ การจัดการขยะอาหารเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้อีกครั้งจึงเป็นหนทางสำคัญในการแก้ปัญหา เพียงแต่วิธีการนี้ก็ยังไม่ถูกใช้อย่างจริงจัง

ดร.ไตรรัตน์ เมืองทองอ่อน ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัย การวิเคราะห์คุณสมบัติของไบโอชาร์ที่เตรียมจากขยะเศษอาหาร (Food Waste-to-Char Characteristics obtained from Various Kinds of Food Waste) การจัดการขยะอาหารโดยทั่วไป คือ การนำไปทำอาหารสัตว์ หมักทำปุ๋ย ทำน้ำหมักก่อนที่จะนำส่วนที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ไปฝังกลบ ซึ่งกระบวนการนี้มีต้นทุนพอสมควร โดยเฉพาะค่าขนส่งที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีผู้นำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ต่อค่อนข้างน้อย ทางทีมวิจัยจึงมองหาทางเลือกในการจัดการขยะอาหารรูปแบบใหม่โดยเปลี่ยนขยะอาหารให้เป็น ‘ไบโอชาร์’ (Biochar) หรือถ่านชีวภาพ ที่สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนทดแทนการใช้ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้

“ขยะอาหารแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทีมวิจัยเชื่อว่ายังมีขยะอาหารอีกมากที่สามารถเปลี่ยน
เป็นไบโอชาร์ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นอยู่อีก การวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการจัดการปัญหาขยะอาหาร โดยทำให้ขยะอาหารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ และกลับมาสร้างมูลค่าใหม่ให้กับอุตสาหกรรมได้อีกครั้ง เป็นทางเลือกการใช้ประโยชน์เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Waste reduction) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Decarbonisation) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมกลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง ” ดร.ไตรรัตน์ กล่าวสรุป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content