26 พฤศจิกายน 2563 ซีทีสแกนกับรังสีเอกซ์ เทคนิคใหม่ช่วยส่องมัมมี่โบราณโดยไม่ต้องเปิดออก

ที่มา:

https://www.khaosod.co.th//around-the-world-news/news_5402601

คณะนักวิทยาศาสตร์บุกเบิกเทคนิคใหม่ช่วยไขเบาะแสเกี่ยวกับมัมมี่อียิปต์ยุคโรมันอายุเก่าแก่ ๑,๙๐๐ ปี ที่ค้นพบในเขตโบราณสถานฮาวาราของประเทศอียิปต์ ด้วยการใช้งานร่วมกันของเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีที (computed tomography: CT) และการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) จึงไม่จำเป็นต้องต้องเปิดออก และแตะต้องโบราณวัตถุแต่อย่างใด แตกต่างจากการใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพโดยไม่ล้วงล้ำเข้าสู่มัมมี่เหมือนที่ผ่านมาเกือบศตวรรษ วารสารวิทยาศาสตร์ราชสมาคม (Journal of the Royal Society) ของอังกฤษตีพิมพ์การค้นพบดังกล่าวเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ พ.ย. คณะนักวิจัยอเมริกันจากมหาวิทยานอร์ทเวสเทิร์น ร่วมกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติอาร์กอนน์ และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเมโทรโพลิแทนเดนเวอร์อธิบายการใช้งานร่วมกันระหว่างซีทีสแกนและการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์

 สจ๊วต สต๊อก นักวิจัยจากโรงเรียนการแพทย์ไฟน์เบิร์ก มหาวิทยานอร์ทเวสเทิร์น ผู้นำการเขียนการศึกษาดังกล่าวกล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญใช้ลำแสงรังสีเอกซ์ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นมนุษย์ส่องเข้าไปในมัมมี่ที่สันนิษฐานน่า จะเป็นเด็กหญิงวัย ๕ ขวบ เพื่อระบุวัตถุภายในห่อผ้าของโบราณวัตถุ และใช้ซีทีสแกนสร้างแผนผังส่วนประกอบของมัมมี่ รังสีเอกซ์ช่วยให้คณะนักวิจัยเห็นสิ่งที่เป็นเหมือนลายนิ้วมือที่มีลักษณะเฉพาะของวัตถุโบราณ และพบสิ่งน่าทึ่งกว่าด้วย คือ ชิ้นส่วนขนาดเล็กของแคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์มากๆ ในมัมมี่ ชิ้นส่วนดังกล่าวมีรูปร่างเหมาะสมกับแมลงปีกแข็ง สัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ซึ่งตามประเพณีจะบรรจุในรอยบากช่องท้องศพระหว่างการทำมัมมี่ และยังช่วยไขเบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะสังคมของมัมมี่ ไม่ใช่เฉพาะคนในราชวงศ์ แต่เป็นคนระดับบนของสังคมด้วย ที่จะมีการประดับแร่ธาตุบริสุทธิ์เช่นนี้ การศึกษามัมมี่ดังกล่าวพบด้วยว่า เด็กหญิงไม่ได้รับจบชีวิตด้วยความรุนแรง เนื่องจากไร้ร่องรอยการบาดเจ็บที่โครงกระดูก แต่ยังไม่รู้สาเหตุการตายที่แท้จริงเช่นกัน

ภาพถ่ายของมัมมี่ยังไขปริศนาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เป็นเจ้าของมัมมี่ ด้วยทรงผมบ่งบอกอายุของมัมมี่ระหว่าง ๑๕๐ – ๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาล มัมมี่ที่ปรากฏในภาพถ่ายมีรูปวาดเสมือนจริงของศพในห่อผ้ามัมมี่และจัดวางตรงใบหน้าของบุคคลนั้นๆ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า เทคนิคนี้สามารถใช้ศึกษาเกี่ยวกับมัมมี่เพิ่มเติม ซึ่งให้เบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุที่ฝังอยู่ข้างมัมมี่โบราณ โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนและยุ่งกับศพ “ย้อนกลับไปในสมัยวิกตอเรีย นักวิจัยจะแยกมัมมี่ออกจากกัน เราไม่ต้องทำแบบนั้นอีกแล้ว” สต๊อกกล่าว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content