25 สิงหาคม 2564 กล้องดักถ่ายจับภาพลูกกวางผาอยู่ได้ดีในธรรมชาติ หลังปล่อยคืนป่า

ที่มา:

https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000083845

สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวเผยแพร่ข้อมูลการติดตามหากินของลูกกวางผาในธรรมชาติ โครงการฟื้นฟูประชากรกวางผา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ในระยะที่ 2 ติดตามประชากร ขนาดพื้นที่อาศัย และกิจกรรมของกวางผาจำนวน 3 ตัว หลังปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และติดตามด้วยปลอกคอสัญญาณดาวเทียม การใช้กล้องดักถ่ายภาพ และใช้การสังเกตโดยตรง โดยมีระยะเวลาศึกษาติดตาม 11 เดือน ผลการศึกษาหลังการปล่อยกวางผาจำนวน 3 ตัว เพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 1 ตัว สู่พื้นที่ป่าธรรมชาติพบว่ากวางผาเพศผู้ มีอาณาเขตพื้นที่หากิน (0.369 ตารางกิโลเมตร) และพื้นที่อาณาเขตใช้ประจำ (0.074 ตารางกิโลเมตร) กว้างมากกว่าพื้นที่หากิน (0.099 ตารางกิโลเมตร) และ พื้นที่อาณาเขตใช้ประจำของเพศเมีย (0.02 ตารางกิโลเมตร) โดยมีจุดกึ่งกลางพื้นที่อาศัยใหม่ของเพศผู้จะอยู่ห่างจากกรงปรับสภาพประมาณ 327- 550 ม. และเพศเมียจะมีพื้นที่อาศัยใหม่อยู่ห่างจากกรงปรับสภาพประมาณ 456.07 ม. ลักษณะโครงสร้างของสังคมพืชที่กวางผาทั้ง 3 ตัวเลือกใช้ คือ ป่าดิบเขาที่มีเรือนยอด ไม่แน่นทึบ มีความลาดชันประมาณ 30º-70º พื้นล่างปกคลุมด้วยพืชตระกูลหญ้า มีชนิดไม้เด่นคือ สนสามใบ ก่อ แอบ ดอกขาวและเก็ดดำ นอกจากนี้ยังพบว่า กวางผามีระยะทางเดินเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนที่มากกว่าฤดูหนาว และฤดูฝน เนื่องจากกวางผาพยายามหาแหล่งพืชอาหารและแหล่งน้ำเพียงพอต่อความต้องการ ในช่วงที่สภาพป่า แห้งแล้ง

สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวให้ข้อมูลวิถีชีวิตของกวางผา ปกติกวางผาจะหากินเป็นฝูงเล็กในการออกหากิน มีจำนวนกวางผาในฝูงละ 2-4 ตัว โดยปกติจะประกอบด้วยกวางผาเพศผู้ 1 ตัว กวางผาตัวเมีย 1-2 ตัว และลูกกวางผา แต่ในธรรมชาติลูกกวางผามักจะติดตามการหากินร่วมกันกับแม่กวางผาจนอายุ 1.5- 2 ปี จึงจะแยกออกไปหากินร่วมกับกวางผาอื่นสร้างเป็นฝูงใหม่ การแยกตัวนั้นกวางผาที่เป็นเพศผู้มักจะแยกตัวจากฝูงเดิมเร็วกว่ากวางผาเพศตัวเมีย โดยจะโดนกวางผาตัวผู้ที่อยู่ในฝูงจะขับไล่ลูกกวางผาเพศผู้ออกจากฝูง ให้ไปตั้งกลุ่มใหม่และมีการครอบครองอาณาเขตหากินของตัวเอง แต่ในกวางผาเพศเมียจะยังคงติดตามฝูงไปจนอายุ 2 ปี ถึงจะแยกออกไปรวมกับกวางผาเพศผู้ที่ครอบครองอาณาเขตหากินที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการเกิดเลือดชิด (Inbreeding) ในฝูงประชากรกวางผาเดิม และเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติให้ได้พันธุกรรมกวางผาที่แข็งแรง เพื่อยังคงเผ่าพันธุ์กวางผาในพื้นที่ได้ดำรงชีวิตต่อไปไม่สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ สถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวดำเนินโครงการการติดตามกวางผาภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ตามโครงการการฟื้นฟูประชากรกวางผาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่  

กวางผา เป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 19 ชนิดของประเทศไทย โดยอนุสัญญา CITES จัดไว้ในบัญชีใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์จำพวกแพะ และแกะ เช่นเดียวกับเลียงผาแต่มีขนาดเล็กกว่า ในประเทศไทยเคยพบที่ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content