25 มีนาคม 2564 เริ่มเห็นผล นักวิทยาศาสตร์อังกฤษ – จีนยืนยันคุณภาพอากาศกรุงปักกิ่งดีขึ้นมาก

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2057155

คณะนักวิทยาศาสตร์มากกว่า ๑๕๐ คน ใช้เวลา ๕ ปี วิจัยมลพิษทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง โดยใช้เครื่องมือสังเกตการณ์และจำลอง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ และสุขภาพของมนุษย์ คณะนักวิทยาศาสตร์พบแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศสำคัญในใจกลางเมือง ซึ่งรวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็ก สารประกอบอินทรีย์ระเหย (VOC) และผงคาร์บอนดำ อยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่ความเข้มข้นยังคงค่อนข้างสูงในปี ค.ศ. ๒๐๑๖ – ๒๐๑๗ ซึ่งบ่งชี้ว่ามลพิษทางอากาศประเภทนี้ก่อตัวขึ้นจากพื้นที่นอกใจกลางเมือง งานวิจัยภายใต้โครงการมลพิษทางอากาศ และสุขภาพของมนุษย์ในมหานครของประเทศจีน (Atmospheric Pollution and Human Health in a Chinese Megacity – APHH-Beijing) ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติจีน (NSFC) ร่วมกับสภาวิจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (NERC) และสภาวิจัยทางการแพทย์ (MRC) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนหุ้นส่วนการวิจัยและนวัตกรรมสหราชอาณาจักร – จีน “มลพิษทางอากาศในระดับสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ในหลายเมืองใหญ่ของประเทศจีน เราขอยืนยันว่าคุณภาพอากาศของกรุงปักกิ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา” ศาสตราจารย์รอย ฮาร์ริสสัน จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมกล่าว โดยฮาร์ริสสันเป็นนักวิจัยหลักประจำโครงการฯ จากฝั่งสหราชอาณาจักร “งานวิจัยครั้งนี้ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในกรุงปักกิ่งดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะแหล่งที่มาและปริมาณ รวมถึงทำให้เราสามารถให้คำแนะนำต่อผู้กำหนดนโยบายและช่วยให้พวกเขาดำเนินการที่จะช่วยลดมลพิษทางอากาศในกรุงปักกิ่งและเมืองอื่นทั่วประเทศ” ฮาร์ริสสันกล่าว

คณะนักวิจัยพบมลพิษจากการปรุงอาหารอาจเป็นแหล่งที่มาของฝุ่นละอองขนาดเล็กอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพในกรุงปักกิ่ง ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการควบคุมเข้มงวดยิ่งขึ้น นอกจากนั้นคณะนักวิจัยยังพบว่า การจราจรบนท้องถนนไม่ใช่แหล่งที่มาหลักของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน แต่ยังคงเป็นแหล่งที่มาหลักของไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ศาสตราจารย์สือจงโปจากมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานทางวิทยาศาสตร์ของโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้ขยายความร่วมมือสหราชอาณาจักร – จีน ฝึกฝนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และสร้างมรดกความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เพื่อการต่อยอดในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมและปรับปรุงวิถีชีวิตประจำวัน

คาโรไลน์ คัลชอว์ หัวหน้าฝ่ายสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของสภาวิจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกล่าวว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก สะท้อนถึงการทำงานร่วมกันขนานใหญ่ของสองประเทศในด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และการแพทย์เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลก โครงการมลพิษทางอากาศ และสุขภาพของมนุษย์ในมหานครของประเทศจีนใช้เครื่องมือชี้วัดทางชั้นบรรยากาศ และกลยุทธ์การวิเคราะห์หลายประเภท เพื่อระบุแหล่งที่มาและปริมาณของมลพิษ พัฒนาวิธีบันทึกการปล่อยมลพิษ และผสมผสานสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อสร้างเครื่องมือจำลองแบบใหม่สำหรับพัฒนานโยบาย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content