23 ธันวาคม 2562 ภัยแล้งลามทั่วประเทศ น้ำต้นทุนเหลือ 2.6 หมื่นล้านลบ.ม. งดส่งน้ำนาปรัง 22 จังหวัด

ที่มา: https://www.naewna.com/local/461888

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่มาเร็วกว่าทุกปีว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำต้นทุนลดลง ส่งผลให้ประชาชนหลายพื้นที่เดือดร้อน รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นห่วงประชาชน จึงสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้ความช่วยเหลือ และวางแผนรับมือภัยแล้งในอนาคต โดยกำชับให้โครงการชลประทานทุกพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ และเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งวางแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อรองรับการขยายตัวของสังคม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในระยะยาว สำหรับการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/2563 นั้น นายทองเปลวเผยว่า กรมชลประทานวางแผนใช้น้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลางทั้งประเทศช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562-30 เมษายน 2563 ซึ่งปริมาณน้ำเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ปริมาตรน้ำต้นทุนใช้การได้ 26,666 ล้าน ลบ.ม. โดยวางแผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศ 17,699 ล้าน ลบ.ม. ตามลําดับความสําคัญดังนี้ เพื่ออุปโภคบริโภค 2,300 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศ และอื่นๆ 6,999 ล้าน ลบ.ม. ภาคเกษตรกรรม 7,881 ล้าน ลบ.ม. งดส่งน้ำนาปรัง 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ภาคอีสานตอนกลาง และตอนล่าง ส่วนภาคอุตสาหกรรม 519 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4,000 ล้าน ลบ.ม. จากเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 3,000 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน 250 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 250 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำแม่กลอง 500 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นเพื่ออุปโภคบริโภค 1,150 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 2,335 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 515 ล้าน ลบ.ม. พืชใช้น้ำน้อย ผลการจัดสรรน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 4,570 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของแผนจัดสรรน้ำ สำหรับในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ วันนี้ใช้น้ำไป 18.15 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 1,316.66 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 ของแผนจัดสรรน้ำ ขณะที่สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง 477 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 47,773 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 63 เป็นปริมาตรน้ำใช้การได้ 23,920 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 46 ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 มี 58,702 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 77 น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 10,929 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 24.18 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำ ระบายน้ำ 73.86 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน สามารถรับน้ำได้อีก 28,294 ล้าน ลบ.ม.

ด้านนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำ 507 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 20.86 ของปริมาณความจุอ่าง ซึ่งขณะนี้ได้นำน้ำก้นอ่างมาใช้แล้วประมาณ 74 ล้าน ลบ.ม. เพื่ออุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ส่วนความช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาขาดแคลนน้ำ กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 6 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และส่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคให้พื้นที่รับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ได้แก่ จ. ขอนแก่น และมหาสารคาม ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูแล้งปี 2562 ที่ผ่านมา 49 เครื่อง ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย มีบางพื้นที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงยังคงเครื่องสูบน้ำไว้ช่วยเหลือเฉพาะการอุปโภคบริโภค 6 เครื่อง นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงสถานการณ์น้ำให้ประชาชน และเกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบทั่วถึง พร้อมรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด โดยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักงานชลประทานที่ 6 เข้าร่วมประชุมสานเสวนาเครือข่ายผู้ใช้น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เหนือน้ำ ท้ายน้ำ เพื่อรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมในลุ่มน้ำชี แผนการใช้น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำ และมาตรการให้ความช่วยเหลือภัยแล้งสร้างการมีส่วนร่วมให้ตระหนักและรับรู้การใช้น้ำให้ประหยัดและรู้คุณค่า สำหรับพื้นที่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ สำนักงานชลประทานที่ 6 ร่วมกับ โครงการชลประทานหนองบัวลำภู สำนักงานชลประทานที่ 5 จัดประชุมกับเทศบาลต. บ้านค้อ อ. โนนสัง จ. หนองบัวลำภู เพื่อประชาสัมพันธ์ และชี้แจงให้ประชาชนและเกษตรกรผู้ใช้น้ำบริเวณเหนือเขื่อนอุบลรัตน์รับทราบสถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ รวมทั้งขอความร่วมมือจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ไม่เดินเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้อย จึงต้องสงวนไว้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ไปจนถึงฤดูฝน ปี 2563 ด้าน จ. มหาสารคาม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ นำรถติดป้ายประชาสัมพันธ์และเครื่องกระจายเสียงออกวิ่งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ขอความร่วมมือให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด นอกจากนี้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย ร่วมกับชาวบ้านและผู้นำชุมชน ลงพื้นที่หาแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ในพื้นที่บ้านเหล่าบัวบ้าน หมู่ 4 ต. เหล่าบัวบาน อ. เชียงยืน จ.มหาสารคาม ที่ประสบปัญหาน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปาไม่เพียงพอ พร้อมชี้แจงสถานการณ์น้ำ และรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด นอกจากนี้สำนักงานชลประทานที่ 6 สั่งการให้โครงการชลประทานทั้ง 5 จังหวัดเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด รวมถึงแจ้งให้ประชาชนทราบสถานการณ์น้ำ พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำเพียงพออุปโภคบริโภคไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า วันเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไปว่า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนตอนกลางวันท้องฟ้าโปร่งและมีแดดจัด บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส ยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-14 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยาลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา เมื่อเวลา 04.00 น. ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนยังคงปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันออกพัดปกคลุม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content