22 เมษายน 2563 เอนไซม์แบคทีเรียพันธุ์ใหม่ ย่อยพลาสติกได้ไม่กี่ชั่วโมง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/article/770194

เอนไซม์ดังกล่าว (เดิมพบในกองปุ๋ยใบไม้หมัก) นั้นถูกพัฒนาเพื่อช่วยย่อยสลายโครงสร้างขวดพลาสติกเก่าอย่างรวดเร็ว และสามารถนำไปสร้างขวดใหม่คุณภาพสูงได้ ซึ่งปกติเทคโนโลยีรีไซเคิลที่มีอยู่แล้ว สามารถรีไซเคิลพลาสติกเพื่อเอาไปทำเสื้อผ้าและพรมเท่านั้น บริษัทผู้ผลิต Carbios กล่าวว่า พวกเขามีเป้าหมายที่จะรีไซเคิลขวดพลาสติกให้ไปถึงระดับอุตสาหกรรมภายใน ๕ ปีโดยทางบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Pepsi และ L’Oreal เพื่อเร่งพัฒนาการรีไซเคิล โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระถือว่าเจ้าเอนไซม์ตัวใหม่นี้เป็นความคืบหน้าที่สำคัญ มีขยะพลาสติกกว่าพันล้านตันที่ก่อมลพิษให้แก่โลก ตั้งแต่อาร์กติกไปจนถึงร่องลึกในมหาสมุทรที่ลึกที่สุด และยังสร้างความเสี่ยงให้แก่สิ่งมีชีวิตในท้องทะเล นักรณรงค์กล่าวว่า การลดใช้พลาสติกเป็นทางออกหลักที่สำคัญ แต่ขณะเดียวกันทางบริษัทเสริมว่า มันยังมีประโยชน์อยู่ ดังนั้นการรีไซเคิลจึงเป็นทางออกที่สำคัญเช่นกันเอนไซม์ชนิดใหม่นี้ถูกเปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาในงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Nature โดยงานวิจัยเริ่มต้นด้วยการเฟ้นหาจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติ จากจำนวนทั้งหมดกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ชนิด รวมถึงจากแมลงย่อยใบไม้ที่ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2012 ด้วย

Professor Alain Marty ศาสตราจารย์จาก Université de Toulouse ประเทศฝรั่งเศส และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัท Carbios กล่าวว่า เราเกือบลืมไอ้เจ้าแมลงตัวนี้ แต่มันกลับเป็นตัวที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์เอนไซม์ และทำการปรับปรุงพันธุกรรม เพื่อสร้างความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกชนิด PET ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้ทำขวด โดยผู้วิจัยได้จำกัดอุณภูมิให้อยู่ที่ ๗๒ องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณภูมิที่เหมาะสมที่ทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทีมวิจัยได้ใช้เอนไซม์ดังกล่าวนี้ในการย่อยสลายขวดพลาสติกจำนวนหนึ่งตัน ปรากฏว่ามันสามารถย่อยพลาสติกไปกว่าร้อยละ ๙๐ ภายในระยะเวลา ๑๐ ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากการย่อยสลายเสร็จสิ้น นักวิทยาศาสตร์นำวัสดุพวกนั้นไปสร้างขวดพลาสติก Food Grade ใหม่ได้หมายความว่า มันเหมาะสมในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ไม่มีสารเคมีปลอดภัยต่อผู้บริโภค Carbios ได้จับมือกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Novozymes เพื่อสร้างเอนไซม์ใหม่จากเชื้อรา โดยเผยว่าค่าใช้จ่ายนั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ ๔ ของการผลิตพลาสติกจากน้ำมัน ขยะขวดพลาสติก PET ต้องผ่านขั้นตอนการบด และให้ความร้อนก่อนนำไปรีไซเคิล พลาสิก PET รีไซเคิลจึงมีค่าใช้จ่ายจึงสูงกว่าพลาสติกบริสุทธิ์ แต่ Martin Stephan รองประธานบริหารของ Carbios เผยว่า พลาสติกรีไซเคิลที่คุณภาพต่ำกว่ากำลังถูกขายในราคาที่แพง เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเผยว่า Carbios เป็นเจ้าแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในตลาด โดยหวังว่าในปี 2024 – 2025 สามารถทำให้มันใช้ได้จริง และพัฒนาไปถึงขั้นอุตสาหกรรม การลดการใช้พลาสติกเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาได้ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ามันสร้างคุณค่าแก่สังคมมากมายเช่นกัน ทั้งด้านอาหาร ทางการแพทย์ และการขนส่ง ปัญหาของพลาสติกคือขยะพลาสติกที่กว่าครึ่งหนึ่งของมันไปจบด้วยการเป็นขยะฝังกลบ หรือไปเกลื่อนกราดอยู่ตามธรรมชาติ  Stephan กล่าว

Professor John McGeehan ผู้อำนวยการศูนย์ Centre for Enzyme Innovation จาก University of Portsmouth กล่าวว่า การรีไซเคิลพลาสติก PET ด้วยชีวภาพนี้สร้างความเป็นได้ในระดับอุตสาหกรรมและแสดงถึงความคืบหน้าของการผลิตในด้านเวลา ประสิทธิภาพ และการทนความร้อน มันแสดงถึงความก้าวหน้าอีกขั้นของวงการรีไซเคิล การหมุนเวียน Circular และมีศักยภาพช่วยในการลดการพึ่งพาน้ำมัน ลดการปล่อยคาร์บอน ลดการใช้พลังงาน รวมถึงกระตุ้นให้เก็บพลาสติกมารีไซเคิลเพื่อลดการสร้างขยะอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตรกรรมที่สามารถช่วยจัดการขยะพลาสติก Recycle ของเราได้ในอนาคต เพราะขยะของเราจำนวนมหาศาล ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้เกิดการ  หมุนเวียนทรัพยากรอย่างจริงจัง ลดการสร้าง การผลิต การใช้วัตถุดิบใหม่ แต่อย่าลืมว่าที่สำคัญ เราต้องช่วยกันลดสร้างขยะ Reduce ใช้ซ้ำ Reduce เก็บ แยกขยะ เพื่อให้เกิดการจัดการ Recycle และแก้ปัญหาขยะบนโลกได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content