20 กรกฎาคม 2565 ค้นพบ “ก่อลูกเอียด” ก่อชนิดใหม่ของโลก

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/366204

รศ.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับนายอรุณ สินบำรุง และ นายสุคิด เรืองเรื่อ จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกันตีพิมพ์ผลงานพรรณไม้ในวงศ์ไม้โอ๊ค (Fagaceae) ชนิดใหม่ของโลก (species new to science) ซึ่งพบที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จ. ระนอง โดยก่อชนิดนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lithocarpus eiadthongii Sinbumr., Rueangr. & Sungkaew ก่อชนิดนี้มีชื่อไทยว่า “ก่อลูกเอียด” เนื่องจากผลมีขนาดเล็ก โดยคำว่า “เอียด” ในภาษาใต้แปลว่า “เล็ก”

ก่อเอียด เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-35 เมตร โคนต้นมักมีพูพอน พบในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 60-260 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มักพบตามไหล่เขา มีลักษณะเด่นที่ช่อผลค่อนข้างสั้น ยาว 4-10 ซม. ผลมีขนาดเล็ก ถ้วยผลมีก้านชูยาว 3-6 มม. ถ้วยผลมีลักษณะคล้ายวงแหวนเรียงกัน (5)6-9 วงเห็นได้ชัดเจน ตัวผลรูปไข่หรือรูปไข่กลับ

เบื้องต้นคาดว่าก่อเอียดน่าจะเป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic species) ของประเทศไทย และมีสถานภาพทางการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น “สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (Vulnerable species)” เนื่องจากพบประชากรของก่อเอียดเพียงไม่กี่แหล่งในประเทศไทย ได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำตก หงาว จ. ระนอง และ อุทยานแห่งชาติศรีพังงา จังหวัดพังงา

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content