2 ธันวาคม 2562 ฝ่าวิกฤติน้ำน้อย! ผ่าแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง 63

ที่มา : https://www.komchadluek.net/news/agricultural/402130?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=agricultural

ในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำครั้งล่าสุด ได้ผลสรุปว่า ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึงประมาณร้อยละ 40 ส่วนภาคใต้ใกล้เคียงค่าปกติ โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนลุ่มเจ้าพระยา คือ  ภูมิพล สิริกิติ์  แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันแค่ 11,796 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 47 ของความจุอ่างฯรวมกัน  โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันเพียง 5,100 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวตอนหนึ่งระหว่างแถลงข่าวการวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง 2562/63  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562-30 เมษายน 2563 โดยระบุว่ากรมชลประทานจะจัดสรรน้ำจากเขื่อนต่างๆในเขตชลประทานทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 17,699 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 5,401 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะจัดสรรน้ำจาก 4 เขื่อนหลังรวมทั้งสิ้น 4,000 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้ว 4,000 ล้าน ลบ.ม. พร้อมทั้งจะควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง-ปราจีนบุรี ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ “การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งปีนี้ กรมชลประทานได้วางแนวทางและเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้ระบบชลประทานในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ และรถยนต์บรรทุกน้ำ โดยจะกระจายอยู่ตามสำนักงานชลประทานและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งได้อย่างทันท่วงที ซึ่งขณะนี้การจัดสรรน้ำยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้” นอกจากนี้กรมชลประทานยังได้สั่งการไปยังได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ร่วมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ ให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำโดยทั่วกัน

ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเสริมว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆขณะนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงต้องบริหารจัดการน้ำตามความเหมาะสม ซึ่งจะใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เป็นหลัก โดยการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ทั้งประเทศจำนวน 17,699 ล้านลบ.ม.นั้น จะจัดสรรสำหรับการอุปโภคบริโภคร้อยละ 13 ประมาณ 2,300 ล้านลบ.ม. เพื่อรักษาระบบนิเวศร้อยละ 40 ประมาณ 6,999 ล้านลบ.ม. เพื่อการเกษตรฤดูแล้งร้อยละ 44  ประมาณ 7,881 ล้านลบ.ม. และเพื่อการอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ 3 หรือประมาณ 519 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ได้สำรองน้ำไว้ใช้ต้นฤดูฝนปี 2563 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 อีกจำนวน 11,340 ล้านลบ.ม. โดยในจำนวนนี้จะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศและอื่นๆร้อยละ 43 หรือประมาณ 4,909 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 57 ประมาณ 6,431 ล้าน ลบ.ม. จะใช้ในกรณีเกิดฝนทิ้งช่วง

รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวด้วยว่า สำหรับผลงานการจัดสรรน้ำล่าสุด ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ได้จัดสรรน้ำตามความต้องการไปแล้ว 1,994 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 11 หากพิจารณาเฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูแล้ง รวม 4,000 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ ได้จัดสรรน้ำตามความต้องการไปแล้ว 601.10 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ซึ่งถือว่ายังเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ส่วนการเกษตรในฤดูแล้งตามแผนกำหนดพื้นที่ไว้ทั้งประเทศรวม 6.85 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ หรือร้อยละ 34 ของแผนฯ พืชไร่-พืชผัก 0.52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 7 ของแผนฯ ที่เหลือเป็นพืชอื่นๆประมาณ 4.01 ล้านไร่หรือร้อยละ 59 ของแผนฯ อย่างไรก็ตามในการปลูกพืชฤดูแล้งในส่วนของลุ่มเจ้าพระยานั้น เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าวนาปรัง กรมชลประทานจึงได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้เพาะปลูกเพียงพืชอื่นๆ รวมจำนวน 993,215 ไร่ ยกเว้นลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีแหล่งน้ำต้นทุนมาจากเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ปีนี้มีปริมาณน้ำค่อนข้างมากรวมกันมากกว่า 23,000 ล้านลบ.ม. โดยเป็นปริมาณน้ำที่ใช้งานได้มากกว่า 10,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้มีแผนเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งรวม 2.07 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 0.84 ล้านไร่ หรือร้อยละ 41 ของแผนฯ พืชไร่-พืชผัก 0.17 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 8 ของแผนฯ) และพืชอื่นๆ 1.06 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนฯ นอกจากยังจะผันน้ำมาสนับสนุนลุ่มเจ้าพระยาอีกประมาณ 500 ล้านลบ.ม. สำหรับลุ่มน้ำอื่นๆนั้น คณะกรรมการ JMC ของเขื่อนแต่ละแห่งจะเป็นผู้กำหนดว่า จะใช้น้ำเพื่อกิจกรรมใดบ้าง จำนวนเท่าไร ควรจะปลูกพืชฤดูแล้งหรือไม่ ซึ่งขณะนี้เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อย จะต้องเฝ้าระวังและควบคุมการบริการจัดการน้ำอย่างเคร่งครัด 6 แห่ง ประกอบด้วยเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่  เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา  และเขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

โดยพื้นที่ชลประทานของเขื่อนทั้ง 6 แห่งดังกล่าว ให้งดการทำนาปรังทั้งหมด “ขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ และน้ำท่าในแม่น้ำสายหลักต่างๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้อย การจัดสรรน้ำสนันสนุนการเกษตรและการประมงต้องทำอย่างจำกัด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัด พร้อมทั้งสร้างกระบวนการรับรู้ให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริงของปริมาณน้ำที่มีอยู่ด้วย” ทวีศักดิ์
ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานแถลงว่า ในปีนี้ปริมาณฝนตกเฉลี่ยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอยู่ที่ 862 มิลลิเมตร น้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยถึงร้อยละ 23 กรมชลประทานจึงได้่เตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้าด้วยการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ ณ ปัจจุบันสามารถลดการใช้น้ำจาก 2 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลได้ 17.2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือใช้น้ำลดลงร้อยละ 34 และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ได้อีก 22.7 ล้านลบ.ม. หรือใช้น้ำลดลงร้อยละ 27 ทั้งนี้คาดว่า ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2562 เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จะมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 160 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 60 ของความจุเขื่อน และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จะมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 70 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 27 ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย และจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอใช้ในทุกกิจกรรม กรมชลประทานได้วางแผนการจัดสรรน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งจำเป็นจะต้องลดพื้นที่ปลูกพืชในฤดูแล้งลง โดยในเขตพื้นที่ชลประทานของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลลดลงจาก 67,700 ไร่ เหลือ 40,286 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังเหลือประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งจะจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งทั้งหมด 35 ล้าน ลบ.ม. และสำรองสำหรับต้นฤดูฝนปี 2563 อีกจำนวน 35 ล้านลบ.ม. รวมทั้งยังจะจัดสรรน้ำให้พื้นที่พิเศษอีก 70 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ซึ่งปริมาณน้ำค่อยข้างน้อยนั้น จะลดพื้นที่ปลูกพืชลงจาก 77,322 ไร่ ในปีที่แล้วเหลือเพียง 25,055 ไร่ โดยงดปลูกข้าวนาปรัง จะส่งน้ำให้เฉพาะไม้ผลจำนวน 14 ล้านลบ.ม. น้ำสำหรับผลิตน้ำประปา จังหวัดเชียงใหม่ 9 ล้านลบ.ม. และสำรองสำหรับต้นฤดูฝนปี 2563 จำนวน 25 ล้านลบ.ม. สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่พิเศษบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำปิงในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่ ที่ต้องใช้น้ำจากแม่่น้ำปิงเป็นหลักนั้น จำเป็นจะต้องบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนเพราะสถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิงปีนี้น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อยมาก ปริมาณน้ำท่าสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 11 พฤศจิกายน 2562 ณ สะพานนวรัฐ มีเพียง 435 ล้านลบ.ม. น้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยถึงร้อยละ 68 หรือกว่า 920 ล้านลบ.ม. ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ดังกล่าวในช่วงฤดูแล้งจะมีความต้องการประมาณ 167 ล้านลบ.ม. โดยใช้เพื่อการเกษตรกรประมาณ 145 ล้านลบ.ม. ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ เช่น ลำไย มะม่วง เป็นต้น ใช้เพื่อผลิตน้ำประปา 21 ล้านลบ.ม. และใช้เพื่อการท่องเที่ยว (เทศกาลสงกรานต์) 1 ล้านลบ.ม.ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่พิเศษ กรมชลประทานได้วางแผนบริหารจัดการน้ำรับมือโดยจะจัดสรรน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมาช่วยระบายลงแม่น้ำปิงเพื่อช่วยพื้นที่ดังกล่าวประมาณสัปดาห์ละ 1-8 ล้านลบ.ม. จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 จำนวนรวม 70 ล้านลบ.ม. และใช้น้ำจากลำน้ำสาขา เช่น น้ำแม่กาง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่ขาน ที่ไหลเข้ามาเติมแม่น้ำปิงอีก 97 ล้านลบ.ม. พร้อมกับลดพื้นที่ปลูกนาปรังเช่นกัน จาก 29,000 ไร่เหลือ 14,000 ไร่ ทั้งนี้หากสามารถบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้จะช่วยพื้นที่พิเศษพ้นวิกฤตขาดแคลนน้ำได้อย่างแน่นอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content