2 ตุลาคม 2566 เสวนา ทิศทางสิ่งแวดล้อมไทยภายใต้นโยบายของรัฐบาลใหม่ 

เสวนา ทิศทางสิ่งแวดล้อมไทยภายใต้นโยบายของรัฐบาลใหม่ 

ที่มา : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร (https://www.seub.or.th/bloging/work/2023-255/)

ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสaนใจและเป็นเรื่องใกล้ตัวเราอย่างมาก เนื่องมาจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น PM2.5 สูงเกินมาตรฐานหลายวัน จนส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชาชนในเมืองหลวง ปฏิรูปที่ดิน ทวงคืนผืนป่า ปัญหาที่ดินที่มีความทับซ้อนกับหน่วยงานรัฐและที่ดินของชาวบ้าน ซึ่งสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เราเกิดความตระหนักถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาของภาคประชาชนที่ต้องจัดการเพียงฝ่ายเดียว แต่ภาครัฐบาลเองก็ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน 

           เวทีเสวนา “ทิศทางสิ่งแวดล้อมไทยภายใต้นโยบายของรัฐบาลใหม่” จึงว่าด้วยเรื่องของแนวทางการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมของภาครัฐในแง่มุมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละหน่วยงานที่ได้มาร่วมพูดคุยกันในวันนี้ ประกอบไปด้วย อาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center คุณช่อแพร ทิพพรรณ์ ผู้อำนวยการส่วนคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ อาจารย์ธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถานบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย คุณอรยุพา สังขะมาน เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และคุณสิรินาฏ  ศิริสุนทร จาก สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า เป็นผู้ดำเนินรายการในครั้งนี้ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย : อรยุพา สังขะมาน จากการได้ศึกษานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน สามารถแบ่งแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง ว่าด้วยเรื่อง ความแปรปรวนของสภาพอากาศ สภาวะอากาศสุดขั้ว ภาวะเอลนีโญ ตลอดจนการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบ
ต่อภาวะโลกร้อน กลุ่มที่สอง ว่าด้วยเรื่องของพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน อันสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มสุดท้าย ว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมแนวทางการสร้างรายได้จากพื้นดินและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ในส่วนของแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมของนายพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวไว้สี่ประเด็นที่สำคัญที่ทางรัฐบาลจะเร่งดำเนินการจัดการให้เร็วที่สุด ประกอบไปด้วย (1) การเร่งแก้ไขปัญหากฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานตำรวจ (2) การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย (3) การแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น และ (4) การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อันเป็นปัญหาหลักที่ประชาชนเกือบทุกคนได้รับ ปัจจุบัน มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่รวบรวมได้ทั้งหมด 94 โครงการ แต่สามารถหาข้อมูลพื้นที่ป่าที่หายไปจริง ๆ ได้แค่ 58 โครงการเท่านั้น เท่ากับว่าป่าหายไป 83,662 ไร่ สูญเสียการกักเก็บคาร์บอน 2,175,315 ตัน และปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ 7,961,653 ตัน ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นมันไปขัดแย้งต่อกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาการทำลายป่าและทำให้ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งประเทศไทยได้เคยไปให้คำมั่นสัญญาไว้ต่อเวทีโลกในสัญญาต่าง ๆ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content