2 กรกฎาคม 2563 โครงการสร้างเขื่อนทำลายป่า พาไทยติดกับดักประเทศกำลังพัฒนา

ที่มา:

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/887565

ทรัพยากรป่าไม้ ถือเป็นต้นทุนทางสังคมด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการรักษาพื้นที่ป่าไม้อย่างจริงจัง เพราะเศรษฐกิจที่เข้มแข็งต้องอยู่บนพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมที่มั่นคง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ ๓๖ ประเทศแคนาดาร้อยละ ๔๐ประเทศญี่ปุ่นร้อยละ ๖๗ ประเทศเกาหลีใต้ร้อยละ ๖๔ เป็นต้น รัฐบาลไทยตั้งเป้าชัดเจนว่าจะนำพาประเทศก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศพัฒนาแล้ว และได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ปรากฏทั้งในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีและแผนปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ ๖ พ.ย. ๖๒ ครม.มีมติเห็นชอบกับนโยบายป่าไม้แห่งชาติให้ถือเป็นนโยบายหลัก ตั้งเป้าหมายให้ประเทศมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ ๔๐ จากปัจจุบันมีอยู่เพียงร้อยละ ๓๑

เรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงไวรัสโควิด-19 ที่ผลสำรวจความคิดเห็นคนไทยกว่าร้อยละ ๘๐ สนับสนุนนโยบายปิดอุทยานแห่งชาติบางช่วงในแต่ละปี เพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว ที่เสนอโดย รมว. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังปิดการท่องเที่ยวช่วงโควิด สัตว์ป่า และสัตว์ทะเลที่มีสถานภาพถูกคุกคามใกล้สูญพันธุ์ เช่น กระทิง ค่างแว่นถิ่นใต้ เต่าตนุ พยูน ออกมาปรากฏตัวอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และเป็นข่าวโด่งดังไปในสื่อนานาชาติหลายสำนัก

. โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุง จ. ชัยภูมิ เสนอ คกก. สงวนคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ขอเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นเนื้อที่ ๑,๒๘๐ ไร่ ในปี ๒๕๖๐ และจะกระทบต่อการสูญเสียไม้ยืนต้นขนาดใหญ่กว่า ๑ หมื่นต้น ซึ่งโครงการนี้ในที่สุดได้สรุปให้สำรวจตำแหน่งที่ตั้งสันเขื่อนใหม่ เพื่อไม่ให้ท่วมป่าภูเขียว จนกระทั่งเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยบอน จ. อุบลราชธานี เสนอ คกก.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ และ คกก.อุทยานแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๐ เพื่อขอเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม และอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เป็นเนื้อที่ ๒๘๐ ไร่ และทำให้สูญเสียไม้ยืนต้นขนาดใหญ่กว่า ๔,๖๐๐ ต้น ซึ่ง คกก. ไม่พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการ

. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขะยูง จ. ศรีสะเกษ เสนอ คกก. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติในปี ๒๕๖๐ ขอเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำ เป็นเนื้อที่ ๑,๖๑๑ ไร่ และมีไม้ขนาดใหญ่กว่า ๑ หมื่นต้น ซึ่ง คกก. ไม่พิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการ

. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่เมาะ จ. พะเยา เสนอ คกก. อุทยานแห่งชาติในปี ๒๕๖๒ ขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ๒๔๓ ไร่ โดยมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่กว่า ๔,๔๐๐ ต้น และยังเป็นแหล่งอาศัยหลักของนกยูงไทย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่มีสถานภาพถูกคุกคามในระดับโลก ซึ่ง คกก. อนุมัติในหลักการ และให้กรมชลประทานกลับไปพิจารณาเสนอแนวทางลดกระทบต่อนกยูงไทยให้ชัดเจนก่อน

. โครงการอ่างเก็บน้ำหนองตาดั้ง จ. ราชบุรี เสนอ คกก. สิ่งแวดล้อมแห่งชาติในปี ๒๕๖๒ ขอใช้พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จำนวน ๒,๐๙๗ ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพป่าสมบูรณ์ และจะท่วมหมู่บ้านกะเหรี่ยงพุระกำที่ถือเป็นหมู่บ้านที่รักษาวัฒนธรรมกะเหรี่ยงดั้งเดิม ซึ่งชาวบ้านรวมตัวกันเรียกร้องขอความเป็นธรรม ซึ่ง คกก. สรุปให้กรมชลประทานกลับไปพูดคุยกับชาวบ้านให้เข้าใจก่อน 

นอกจากนี้ยังมีโครงการอ่างเก็บน้ำที่กำลังเสนอเพื่อก่อสร้างในพื้นที่อนุรักษ์ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ คกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพิ่มเติม เช่น อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จันทบุรี ที่จะท่วมพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้นกว่า 7,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่ได้รับการฟื้นฟูเพื่ออนุรักษ์ช้างป่าอย่างประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน สระแก้ว ที่กำลังเสนอให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา เป็นเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ ทั้งๆ ที่พื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และ คกก.มรดกโลกเคยมีมติขอให้รัฐบาลระงับการสร้าง โครงการเหล่านี้มักอ้างถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นโครงการเก่าแก่ที่ถูกคิดไว้ตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยยังมีพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก ถูกนำมาปัดฝุ่นเสนอใหม่ โดยมิได้คำนึงว่าปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างมาก ป่าไม้เหลือน้อย สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์เหลือพื้นที่ป่าเป็นที่พึ่งพิงเพียงเล็กน้อยเพื่อดำรงชีวิต แต่แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ไม่ได้ถูกปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และของโลกในปัจจุบัน ตลอดจนคนในสังคมเมืองที่โหยหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และบางประเทศในยุโรป พยายามฟื้นฟูระบบนิเวศลำน้ำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการรื้อทำลายเขื่อนที่มีอายุเก่าแก่ และมีผลกระทบชัดเจนต่อสิ่งแวดล้อม รวมกันกว่าหลายร้อยเขื่อนและหน่วยงานของรัฐด้านพัฒนาจะมีความตระหนัก โดยไม่เสนอโครงการพัฒนาที่ทำลายพื้นที่อนุรักษ์ที่ประกาศจัดตั้งแล้ว เพราะถือเป็นการผิดกฎและกติกาของสังคมอย่างรุนแรง และอาจถูกต่อต้านจากคนในสังคมจนกระทั่งฟ้องร้องกันเสียภาพลักษณ์

สำหรับในประเทศไทย หากหน่วยงานรัฐขาดความตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และระบบนิเวศอยู่เช่นนี้ ก็ยังถือว่าประเทศเรายังคงติดกับประเทศรายได้ปานกลางที่หน่วยงานของรัฐด้านพัฒนาคิดโครงการทำลายป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยไม่แยแสต่อคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสลับซับซ้อน เกี่ยวโยงกับสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคและช่วยรักษาสมดุลความชื้นในภาวะโลกร้อน

และแสดงถึงความไม่แยแสต่อคุณค่าของการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกพื้นที่มรดกโลก ที่คนทั่วโลกห่วงใย ซึ่งแนวทางการพัฒนายังเป็นอยู่ เช่น อาจทำให้นโยบายป่าไม้แห่งชาติ คงเป็นเสมือนเพียงกระดาษที่ขาดพลังขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content