17 มกราคม 2565 วิเคราะห์สายพันธุ์มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ในแอฟริกาตะวันออก

ที่มา: https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2289358

นักวิทยาศาสตร์พยายามแสวงหาความชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาของต้นกำเนิดสายพันธุ์มนุษย์ของเราในทวีปแอฟริกาตลอดมา จนกระทั่งการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ที่ชื่อ โอโม 1 (Omo I) ประกอบด้วยกะโหลกศีรษะที่ค่อนข้างสมบูรณ์ กรามล่าง กระดูกสันหลังบางส่วน และบางส่วนของแขนและขา ถูกพบในพื้นที่การก่อตัวของแหล่งโบราณคดีแนวหิน Omo Kibish ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย เมื่อปี พ.ศ.2510 ถูกระบุว่าเป็นสายพันธุ์มนุษย์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) โดยเชื่อว่า มีอายุไม่เกิน 200,000 ปี ทว่าในรายงานการวิจัยใหม่ของทีมวิจัยนานาชาติ นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ ที่ประเมินอายุของโอโม 1 อีกครั้ง โดยรวบรวมตัวอย่างหินภูเขาไฟตามแหล่งสะสมของภูเขาไฟในเอธิโอเปีย ที่ตรงกับช่วงเวลาที่มนุษย์โฮโม เซเปียนส์ถือกำเนิดขึ้น คือ ปลายสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง ทีมเผยว่า ต้องศึกษาสัญญาณทางเคมีของชั้นเถ้าภูเขาไฟที่อยู่ด้านบนและด้านล่างของตะกอนที่พบซากโครงกระดูก เนื่องจากการปะทุแต่ละครั้งของภูเขาไฟจะทิ้งร่องรอยเคมีไว้ ทีมบดหินเหล่านั้นมีขนาดเป็น มม. เพราะหินจะเผยให้เห็นแร่ธาตุที่อยู่ภายใน ซึ่งจะช่วยให้หาอายุพร้อมกับชี้ชัดถึงสัญญาณทางเคมีของหินภูเขาไฟที่ยึดแร่ธาตุไว้ด้วยกัน

ทั้งนี้ ผลวิจัยใหม่บ่งชี้ว่า โอโม 1 เป็นมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ที่เก่าแก่ที่สุด และมีลักษณะของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่ชัดเจนที่สุดในแอฟริกาตะวันออก โดยมีอายุเก่าแก่กว่าการระเบิดของภูเขาไฟขนาดมหึมาที่เกิดขึ้นเมื่อ 233,000 ปีที่แล้ว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content