17 กุมภาพันธ์ 2567 มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง แจ้ง ดอยตุงพบพันธุ์ไม้ใหม่โลก รอขั้นตอนการรับรอง

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง แจ้ง ดอยตุงพบพันธุ์ไม้ใหม่โลก รอขั้นตอนการรับรอง

ที่มา : ข่าวสด (https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8098759)

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง เผย ดอยตุงพบพันธุ์ไม้ใหม่ของโลกอยู่ขั้นตอนการรับรอง แถมสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์อีกหลายชนิด ชี้ทิศทางการค้าโลกหันใช้ธรรมชาติถ่วงดุลการค้ามากขึ้น เดินหน้าเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ขยายผลธุรกิจสีเขียวต่อยอดคาร์บอนเครดิตผันเป็นทุนสู่ชุมชน

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง เปิดเผยว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้มีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าดอยตุงมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ที่เริ่มศึกษาพันธุ์ไม้ดั่งเดิม และในปี60 ได้เริ่มศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity สาเหตุจากพบว่า เวทีสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเริ่มหันมาให้น้ำหนักในเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งตั้งแต่ปี 2560-66 ทีมศึกษาปรับป่าได้พบความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช สัตว์ แมลง และปลา จำนวนมาก และยังพบพันธุ์พืชใหม่ของโลก เช่น Prunus..vandebultil..เป็นไม้ตระกูลนางพญาเสือโคร่งสีขาว ชื่อตั้งตามผู้พบคือ นายมาติน แวนดีบุตล์ นักพฤกษศาสตร์ทีมปรับป่าของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และเตรียมขอชื่อภาษาไทยต่อไป นอกจากนั้น พบดอกไม้หายาก เช่น ดอกนครินทรา ในพื้นที่ป่าหินปูน ดอกกระดิ่งวัดน้อย ดอกม่วงกำมะหยี่ เทียนดอยตุง การพบปลาพันธุ์ซึ่งกำลังตรวจสอบว่า อาจเป็นชนิดใหม่ของโลกหรือไม่ อยู่ระหว่างเตรียมขอชื่อพระราชทานเช่นกัน รวมถึงการพบ สัตว์ป่าเสี่ยงสูญพันธุ์ เช่น เลียงผา ลิ่น แมวดาวบินตุรง หมีขอ และหมูหริ่ง “เหล่านี้เป็นคำตอบว่า ป่าดอยตุงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อันเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฯและคนในพื้นที่ช่วยกันและให้ความร่วมมือทั้งในการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์เข้มข้นเพิ่มเติมจากพื้นที่อนุรักษาทางบกจำนวน 2 พื้นที่ รวม 1.7 พันไร่ สำหรับสัตว์ป่าและแหล่งอนุรักษ์ทางน้ำระยะทาง 3,200 เมตร สำหรับอนุรักษ์พันธุ์ปลาอีกทั้งมูลนิธิฯ คาดว่าไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า จะมีการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของการค้าโลกที่จะยกมาเป็นเกณฑ์พิจารณาการนำเข้า-ส่งออกสินค้าควบคู่กับคาร์บอนเครดิต ดังนั้นจะเป็นโอกาสทางธุรกิจสีเขียวที่จะนำมาใช้ต่อยอดโครงการคาร์บอน ที่มูลนิธิฯ ได้พัฒนาร่วมกับชุมชนผู้รักษาป่าในโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่า เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ป่าชุมชน) ซึ่งใน ปี67 จะเพิ่มพื้นที่คาร์บอนเครดิตอีกประมาณ 1.7 แสนไร่ ใน 127 ชุมชน 9 จังหวัด คาดว่าจะได้ปริมาณคาร์บอนเครดิต 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยตั้งแต่ปี 64-66 มีประชาชนเข้าร่วม 71,834 คน 24,325 ครัวเรือน และได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจ 20 แห่ง มียอดเงินในกองทุนกว่า 66 ล้านบาท”หม่อมหลวงดิศปนัดดากล่าว

สำหรับป่าดอยตุงมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 60,816 ไร่ ป่าเศรษฐกิจ 33,816 ไร่ พื้นที่ทำกิน 8,259 ไร่ ป่าใช้สอย 3,466 ไร่ และที่อยู่อาศัย 3,190 ไร่ มูลนิธิฯวางแผนสำรวจพันธุ์ไม้ดั่งเดิม ปี 2547 ปี 60 เริ่มโครงการเปลี่ยนป่าดอยตุง เพื่อวางแผนและแนวทางปรับสภาพป่าสนในพื้นที่ดอยตุง ในโครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีนายมาติน แวนดีบุลต์ นักพฤกษศาสตร์และนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ (พืชหายาก) นายทักษ์ดนัย เผ่าต๊ะใจ เจ้าหน้าที่โครงการความหลากหลายทางชีวภาพ(สัตว์หายาก) เป็นหนึ่งในทีมศึกษาปรับป่า ปี 63 เริ่มโครงการสำรวจแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และปลา ปี2566 เริ่มโครงการสำรวจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเริ่มโครงการสำรวจนก โดยดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้จัดการโครงการสิ่งแวดล้อมอาวุโส มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในฐานะนักปักษีวิทยา ผลของการศึกษาในพื้นที่ป่าดอยตุงพบว่า มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 40 ชนิด เช่น เลียงผาหมี พบแมลงบก และแมลงน้ำ 850 ชนิด (รวมถึงแมลงที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำที่ดีและสะอาด) พบสัตว์เลื้อยคลาน 27 ชนิด และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 58 และในปี 66 ยังพบพืชหายากมากกว่า 17 ชนิดในพื้นที่ดอยตุง ปลา 31 ชนิด นก 268 ชนิด และพบสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เช่นเลียงผา ลิ่น แมวดาวบินตุรง หมีขอ และหมูหริ่งและปลาชนิดใหม่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content