16 กันยายน 2564 ยูเนสโกประกาศดอยเชียงดาวเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก

ที่มา:

https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000091748

การประชุมคณะกรรมการสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล (International Co-orinating Council on the Man and the Biosphere Programme: MAB-ICC) ครั้งที่ 33 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 ก.ย. 2564 ณ กรุงอาบูจา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย องค์การยูเนสโกประกาศให้พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าวผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีการพิจารณารับรองการเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่จำนวน 22 แห่ง โดยพื้นที่ดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้มีการพิจารณาบรรจุในบัญชีรายชื่อพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ ของปี ค.ศ. 2021

ดอยเชียงดาว มีคุณค่าสำคัญต่อการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ได้แก่ มีสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีภูมิประเทศเขาหินปูนอันโดดเด่น มีภูมิปัญญาเหมืองฝาย ตัวอย่างกลไกการจ่ายแทนคุณระบบนิเวศ ในพื้นที่บ้านปางมะโอ พื้นที่แกนกลางที่ได้รับการดูแลโดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวมาเป็นเวลากว่า 40 ปี นอกจากนี้ ดอยเชียงดาวยังมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยเฉพาะเส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอยหลวงเชียงดาว ยอดดอยหลวงเชียงดาว สูงเป็นอันดับ 3 ของเมืองไทย ดอยเชียงดาว ตั้งอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อ.เชียงดาว และ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ มีความโดดเด่นด้านภูมิทัศน์ด้วยภูเขาหินปูน มีดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับสามของประเทศไทย มีความสูง 2,225 ม. จากระดับน้ำทะเลดอยเชียงดาวเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำปิงตอนบน โดยมีทั้งระบบนิเวศดั้งเดิมที่ได้รับการปกปักษ์รักษามาอย่างยาวนาน และพื้นที่ที่ได้รับการฟื้นฟูให้คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ปี ดอยเชียงดาวยังเป็นแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ กวางผา และเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้

นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณดอยเชียงดาวยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลีซอ ปกากะญอ และวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ พื้นที่ดอยเชียงดาว มีความพร้อมที่เอื้อต่อการวิจัยในพื้นที่ เนื่องจากมีสถานีวิจัยในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีประสบการณ์โดดเด่นในการจัดการพื้นที่คุ้มครองเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า โดยเฉพาะความสำเร็จในการอนุรักษ์กวางผาในถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีสถานีวิจัยต้นน้ำ และสถานีวิจัยเกษตรพื้นที่สูง

พื้นที่สงวนชีวมณฑล เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศบนบก ทะเล หรือชายฝั่งทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และระบบนิเวศ ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลอยู่ทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสัก-ห้วยทาก จ.ลำปาง พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จ.เชียงใหม่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จ.ระนอง และล่าสุด คือพื้นที่สงวนชีวมณฑลเชียงดาว จ.เชียงใหม่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content