15 พฤษภาคม 2566 สรรพสามิตเร่ง Green tax ผ่านยุทธศาสตร์ EASE Excise

Green Tax

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1067827

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กรมฯ ได้นำยุทธศาสตร์ “EASE Excise”โดยมีกลยุทธ์ 4 ด้าน ได้แก่ E (ESG/BCG Focus) เป็นการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กับสินค้าและบริการภายใต้หลักการ ESG และสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (Bio-Circular-Green Economy หรือ BCG) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ.2050) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

A (Agile ways of work) มุ่งเน้นยกระดับการทำงานและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่หลากหลาย (Multi Skills) และส่งเสริมการทำงานรูปแบบคล่องตัว อย่าง Agile ต่อมาคือ S (Standardization) เป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการ (Service Standard) เปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) อีกทั้งยังปรับปรุงและปฏิรูปกฎหมาย (Law & Regulation Reform) และนำระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) มาใช้ภายในกรมสรรพสามิต

E (End-to-end Customer Service) เป็นการพัฒนาบริการที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางโดยออกแบบประสบการณ์ของผู้เสียภาษี (User Experience) และให้บริการในทุกช่องทางแบบไร้รอยต่อ (Omni-Channel) ตลอดจนสร้างต้นแบบหน่วยงานบริการแบบไร้กระดาษ (Paperless)

สำหรับนโยบายของกรมฯ ที่เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสีเขียวที่กำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่

1. มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยมาตรการดังกล่าวมุ่งหวังให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาค ตามเป้าหมายที่ภาครัฐตั้งไว้ และเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการปล่อยมลพิษจากภาคการขนส่ง และขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 15 บริษัท

2. การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่ และมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการใช้มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง เพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ถือเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสูงของประเทศ (New S-Curve)

3. การส่งเสริมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) โดยการนำเอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ กรมสรรพสามิตได้ร่วมกับผู้แทนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการศึกษาแนวทางส่งเสริมให้นำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากการนำไปผลิตเชื้อเพลิงเพื่อให้สอดคล้องกับ BCG Economy

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content