15 พฤศจิกายน 2564 หลักฐานบรรพบุรุษทางภาษาจากตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

ที่มา: https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2241938

ความเชื่อมโยงของภาษาทรานส์ยูเรเซียน (Transeu rasian) หรือภาษาอัลตาอิก (Altaic) เป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการโต้แย้งกันมากที่สุดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ทางภาษา โดยอ้างถึงตระกูลภาษาที่กระจายไปทั่วภูมิภาคยูเรเซีย ตั้งแต่ญี่ปุ่น เกาหลี ทิศตะวันออกของไซบีเรีย จนถึงทางทิศตะวันตกของตุรกี ซึ่งมีคำถามว่าภาษาใน 5 ดินแดนนี้สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันหรือไม่ ล่าสุดมีผลการศึกษาระดับนานาชาติ นำโดยกลุ่มวิจัยโบราณคดีจากสถาบันมักซ์ พลังค์ ด้านวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์มนุษย์ ในเยอรมนี เผยว่ามีหลักฐานทางโบราณคดีและพันธุกรรม ตลอดจนการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ด้วยชุดข้อมูลที่แสดงถึงแนวคิดคำศัพท์มากกว่า 250 แนวคิดในภาษาทรานส์ยูเรเซียน 98 ภาษา สิ่งเหล่านี้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า กลุ่มภาษาทรานส์ยูเรเซียน หรืออัลตาอิก เกิดจากเกษตรกรยุคหินใหม่ที่อยู่ในหุบเขาเหลียวตะวันตกของจีน เมื่อชาวไร่ชาวนาเหล่านี้ย้ายข้ามเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ บรรดาภาษาที่สืบทอดมาก็แพร่ขยายไปทางเหนือและตะวันตกในไซบีเรีย รวมถึงที่ราบกว้างใหญ่และฝั่งตะวันออกสู่คาบสมุทรเกาหลี ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายพันปี

ทีมวิจัยเผยว่า การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าภาษาสมัยใหม่ อย่างภาษาญี่ปุ่น เกาหลี ตุรกี และมองโกเลีย อาจมีบรรพบุรุษร่วมกันจากจีนโบราณเมื่อ 9,181 ปีก่อน โดยเกษตรกรชาวไร่ข้าวฟ่างที่อาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้ำเหลียวตะวันตก จะมีคำเล็กๆน้อยๆที่สืบทอดมาและเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกบนบก เช่น “ทุ่งนา” “หว่าน” “เพาะปลูก” และ “เติบโต” ซึ่งมีการกล่าวถึงข้าวฟ่าง แต่ไม่เกี่ยวกับข้าวหรือพืชชนิดอื่น ๆเลย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content