14 มิถุนายน 2564 จัดการขยะพลาสติก ท่ามกลางโควิด-19 ที่ตอบโจทย์ New normal ต้องลงมือตั้งแต่ต้นทาง

ที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000057232

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ร่วมเสวนาพร้อมด้วย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานโครงการ PPP Plastics นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก และ ดร. ภาณุวัฒน์ อ่อนเทศ ผู้แทนสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร โดยมีสร้อยฟ้า ตรีรัตนนุกูล เป็นผู้ดำเนินรายการ เนื่องจากทุกฝ่ายตระหนักถึงความจำเป็นต่อการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อความปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19 แต่หากต้องการตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิตลักษณะวิถีชีวิตใหม่ (New normal) ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก็ควรจะต้องมุ่งเน้นจัดการขยะ ณ ต้นทาง นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าวถึงสถานการณ์และการจัดการปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยว่า ประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณปีละ 2 ล้านตัน ซึ่งรัฐบาลเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก และจัดทำ Roadmap
การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561–2573 และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563–2565) โดยการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของภาครัฐ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ภาครัฐตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อความปลอดภัย และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 จึงมุ่งเน้นไปที่มาตรการจัดการหลังการบริโภค โดยส่งเสริมสนับสนุนให้รวบรวมนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อธิบดีกรมควบคุมมลพิษย้ำว่า อยากขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก โดยเป้าหมายสูงสุด คือ ขยะ ต้องไม่ใช่ขยะ เพื่อป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกเล็ดลอดสู่ธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นจัดการ ณ ต้นทาง สร้างมูลค่าในห่วงโซ่การจัดการพลาสติก และประชาชนต้องให้ความร่วมมือเริ่มต้นที่ใช้ให้น้อยที่สุด ทิ้งให้ถูกที่ กำจัดอย่างถูกวิธี คัดแยก และนำไปใช้ประโยชน์ในได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยในฐานะประธานโครงการ PPP Plastics กล่าวว่า โครงการ PPP Plastics เป็นการรวมตัวการดำเนินงานของกลุ่มภาคีเครือข่ายของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก โดยมีเป้าหมาย คือ สนับสนุนการดำเนินงานตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก และวาระแห่งชาติด้านเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) เพื่อให้สามารถลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ 6 เสาหลัก คือ (1) การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (2) การพัฒนานโยบายและกฎหมาย (3) การพัฒนาฐานข้อมูลขยะพลาสติก (4) การสื่อสารประชาสัมพันธ์และการศึกษา (5) การพัฒนานวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม (6) ระดมทุนการบริหารจัดการโครงการ นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก ได้กล่าวถึงประโยชน์ของพลาสติกในช่วงโควิดต่อการดำเนินชีวิตและการสาธารณสุข ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ จะสามารถตอบรับรูปแบบการใช้ชีวิตลักษณะวิถีชีวิตใหม่ (New normal) และเข้าไปมีส่วนร่วมต่อการดำเนินชีวิตในสังคมมากขึ้น รวมทั้งเป็นการตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของชีวิต โดยมีการจัดการด้วยระบบ Circular Economy เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่า และสร้างความยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมพลาสติกยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในด้าน BCG model ดร. ภาณุวัฒน์ อ่อนเทศ ผู้อำนวยการส่วนบริการจัดการมูลฝอย สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครกล่าวว่า การจัดการขยะของกรุงเทพมหานครมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาด้วยแนวคิดการจัดการขยะแบบครบวงจร โดยต้องมีการลดคัดแยกขยะ ณ ต้นทาง ตามหลักการ 3R ซึ่งส่งเสริมการลดใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้กล่องโฟมในอาคารกรุงเทพมหานคร โดยสื่อสารสร้างความเข้าใจ แยกแล้วจัดการต่ออย่างไร พัฒนาระบบรองรับการทิ้งแยกประเภทและประชาสัมพันธ์ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจให้ประชาชนต่อทัศนคติที่ว่า “แยกแล้วเก็บรวม”

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content