10 สิงหาคม 2564 สัญญาณฉุกเฉิน รายงานใหม่ IPCC ชี้โลกร้อนเร็วขึ้น

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2162300

คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่งานวิจัยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทั่วโลก เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการประมาณทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศชิ้นใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยพบว่า โลกกำลังร้อนเร็วขึ้น และมนุษย์แทบไม่เหลือเวลาที่จะป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้น ศ. เอ็ด ฮอว์คินส์ จากมหาวิทยาลัยเรดดิง สหราชอาณาจักร หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ระบุว่า รายงานฉบับนี้คือ ถ้อยแถลงข้อเท็จจริง นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจมั่นใจได้มากกว่านี้อีกแล้ว มันเป็นเรื่องชัดเจนและโต้แย้งไม่ได้ว่า มนุษย์กำลังทำให้โลกร้อนขึ้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 50 ปีที่อุณหภูมิพื้นผิวของโลกเพิ่มขึ้นเร็วที่สุด ยิ่งกว่าช่วง 50 ปีใด ๆ ในรอบ 2,000 ปีที่ผ่านมา และเริ่มส่งผลกระทบแล้วในรูปแบบสภาพอากาศสุดขั้วที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รายงานของ IPCC เผยสถิติสำคัญหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า โลกของเรากำลังร้อยขึ้นเร็วกว่ายุคใด ๆ ในอดีต เช่น อุณหภูมิผิวโลกในช่วงทศวรรษระหว่างปี ค.ศ. 2011-2020 สูงกว่าช่วงปี ค.ศ. 1850-1900 ถึง 1.09 องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 ด้านอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในปัจจุบันก็มากกว่าช่วงปี ค.ศ. 1901-1971 เกือบ 3 เท่า อิทธิพลของมนุษย์ยังเป็นปัจจัยหลัก ที่ผลักดันให้น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกกับธารน้ำแข็งทั่วโลกลดลงนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 และเห็นได้ชัดว่า ประกฏการณ์สภาพอากาศร้อนสุดขั้ว รวมถึงคลื่นความร้อนเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเย็นกลับเกิดน้อยลง และความรุนแรงลดลง

รายงานใหม่นี้ยังระบุชัดเจนว่า ภาวะโลกร้อนที่เราประสบมาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต่อระบบสนับสนุนตัวเองของโลกของเรา จนไม่อาจย้อนคืนดังเดิมได้ภายในระยะเวลาหลายร้อยหรือหลายพันปี มหาสมุทรจะอุ่นขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น ธารน้ำแข็งบนภูเขาและเข้าโลกจะละลายต่อไปเป็นเวลาหลายสิบหรือหลายร้อยปีข้างหน้า “ผลที่ตามมาเหล่านี้จะเลวร้ายลงตามความร้อนที่เพิ่มขึ้น” ศ.ฮอว์คินส์กล่าว “และผลกระทบหลายอย่างไม่อาจกลับมาเป็นดังเพิ่มได้”ระดับน้ำทะเล นักวิทยาศาสตร์ได้จัดทำแบบจำลองสถานการณ์ที่ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกระดับ และพวกเขาไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่น้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 2 ม. ภายในสิ้นศตวรรษนี้ (ค.ศ. 2100) หรือเพิ่มขึ้น 5 เมตรภายในปี ค.ศ. 2150 ได้ ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่งภายในปี ค.ศ. 2100 ส่งผลกระทบต่อคนนับล้านชีวิต

หัวข้อสำคัญอีกอย่างในรายงานฉบับนี้คือ การคาดการณ์อัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษยชาติ โดยในปัจจุบันเกือบทุกประเทศทั่วโลก ลงนามในความตกลงปารีสปี 2015 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะคงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ และมุ่งมั่นจะคงอุณภูมิให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส แต่รายงานใหม่ฉบับนี้ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์จัดทำแบบจำลองอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกภายใต้เงื่อนไขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกสถานการณ์แล้วพบว่า อุณหภูมิโลกจะแตะ 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี ค.ศ. 2040 ในทุกสถานการณ์ และหากไม่มีการตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่านั้นอีก “เราจะเผชิญอุณหภูมิ +1.5 องศาเซลเซียสนานหลายปีเร็วขึ้นอีก เราเคยเจอมันมาแล้วนาน 2 เดือนระหว่างปรากฏการณ์ เอลนิโญ ในปี ค.ศ. 2016” ศ.มอลเทอ เมนชูเซน จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย และหนึ่งในผู้เขียนรายงานของ IPCC ระบุ “รายงานใหม่นี้คาดการณ์ว่า มันจะเกิดขึ้นเร็วที่สุดในช่วงกลางปี ค.ศ. 2034” ผลที่ตามมาหลังอุณหภูมิโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสคือ มนุษย์จะได้เห็นคลื่นความร้อนที่รุนแรงและเกิดถี่ขึ้น ฝนตกหนักขึ้นทั่วโลก และที่บางพื้นที่จะเผชิญภัยแล้งรุนแรงขึ้นกว่าที่เห็นในปัจจุบัน และอาจเกิดเหตุการณ์ที่ทวีปอาร์กติก เกือบจะไม่เหลือน้ำแข็งอยู่เลยอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนถึงปี ค.ศ. 2050

ทั้งนี้ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า รายงานของ IPCC เปรียบเหมือน รหัสแดง หรือสัญญาณฉุกเฉินต่อมนุษยชาติ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สถานการณ์ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว หากเราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกได้ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ.2030 และถึงเป้าหมายที่ศูนย์สุทธิ (net zero) ภายในปี ค.ศ.2050 เราจะสามารถหยุด หรืออาจลดอุณหภูมิที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นนี้ได้ การไปให้ถึงเป้าหมายที่ศูนย์สุทธิ คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจำให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด แล้วลดการปล่อยก๊าซที่เหลือด้วยเครื่องดักจับคาร์บอน หรือใช้พืชดูดซับ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content