10 สิงหาคม 2564 ทีมวิจัยวิเคราะห์ความทนทานของกลุ่มหินสโตนเฮนจ์

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2162001

ในปี พ.ศ. 2501 โรเบิร์ต ฟิลลิปส์ ตัวแทนของบริษัทขุดเจาะที่ช่วยบูรณะสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) นำแกนทรงกระบอกหลังจากที่เจาะจากเสาหินที่เรียกว่า Stone 58 ของสโตนเฮนจ์ ต่อมาเมื่อเขาย้ายไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็นำแกนหินดังกล่าวไปด้วย แต่เนื่องจากสโตนเฮนจ์ได้รับการคุ้มครองสถานะ ชิ้นส่วนนั้นจึงถูกส่งคืนกลับมาหลังผ่านไป 60 ปี ทำให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไบรท์ตัน ในอังกฤษ เลยมีโอกาสวิเคราะห์ทางธรณีเคมีของเสาสโตนเฮนจ์ ทีมวิจัยพบว่า หินสูงตระหง่านของสโตนเฮนจ์ หรือหินซาร์เซน (Sarsen) ทำจากหินที่มีตะกอนซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อช่วงไดโนเสาร์เดินท่องโลก หลังจากตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกนที่หิน ใช้กล้องจุลทรรศน์ต่าง ๆ ส่องวิเคราะห์ตะกอนและเคมีของหิน นักวิจัยเผยว่า เม็ดทรายบางเม็ดที่ฝังอยู่ในหินดังกล่าวมีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก (Mesoproterozoic) ช่วงราว ๆ 1,000 ล้านถึง 1,600 ล้านปีก่อน เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่ชิ้นบาง ๆ ของหินซาร์เซนจาก Stone 58 ก็ชวนประหลาดใจที่พบว่า หินนั้นเป็นควอตซ์ถึงร้ยละ 99.7 นักวิจัยอธิบายเกี่ยวกับการยึดเกาะกันของควอตซ์ ว่า การจับตัวของเม็ดควอตซ์ขนาดละเอียดถึงปานกลางก่อตัวเป็นผลึกหินประสานกัน ทำให้หินมีความทนทานมากขึ้น และนี่อาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมผู้สร้างสโตนเฮนจ์จึงเลือกหินประเภทนี้สำหรับสร้างเป็นอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่เมื่อหลายพันปีก่อน

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content