5 ตุลาคม 2566 โลก อาหาร สิ่งแวดล้อม และมหาวิทยาลัย

แว่นขยาย

ที่มา : สยามรัฐออนไลน์ (https://siamrath.co.th/c/482297)

          รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นเวลา 8 ปีเต็มแล้ว นับตั้งแต่มีการร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2573) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) เมื่อเดือน ก.ย. 2558 จาก 193 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลให้การบริโภคอาหารของคนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เกือบทุกคนมุ่งมั่นที่จะรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและมีความสมดุล แต่รู้หรือไม่ว่าการรับประทานอาหารของคนเราทุกวันนี้ส่งผลต่อสวัสดิการสังคม (Social welfare) และสุขภาพของโลก (Health of the planet) อาหารหลายชนิดที่คนเรากินอาจมีรสชาติอร่อยแต่กลับส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศ

            องค์การสหประชาชาติประมาณการว่าอุตสาหกรรมอาหารเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบต่อการใช้พลังงานของโลก ร้อยละ 30 และการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ร้อยละ 22  ขณะที่กรีนพีซชี้ให้เห็นในรายงานเรื่องความยั่งยืนด้านอาหารประจำปี 2561 (2018) ว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั่วโลกเพียงอย่างเดียวมีส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 14 ส่วนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คำนวณว่าภายในปี 2593 (2050) โลกจะมีประชากรมากกว่า 9 พันล้านคน ส่งผลให้โลกต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ท้องทะเลเป็นแหล่งอาหารสำคัญแห่งหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานหรือเดือดร้อนจากผลพวงของการรับประทานอาหาร ที่ขาดความรับผิดชอบของมนุษย์ เช่น การจับปลาในปริมาณที่มากเกินไปจนนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศทางทะเล โดยในปี 2563 (2020) การผลิตปลามีจำนวนมากกว่า 200 ล้านตัน และปริมาณปลาที่มนุษย์บริโภคคิดเป็น 20.2 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากตัวเลขในปี 2503 (1960) ที่การบริโภคปลามีตัวเลขอยู่ที่ 9.9 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งหมายความว่าจะมีปลาเพียงร้อยละ 64.6 สายพันธุ์เท่านั้นที่สามารถอยู่รอดอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบนิเวศทางทะเล

            ปัญหาด้านสุขภาพตกเป็นเหยื่อรายใหญ่อีกประการหนึ่งของการบริโภคอาหารของคนเรา ระบบอาหารในปัจจุบันเป็นอันตรายและก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งอันตรายจากการบริโภคและโรคภัยนี้มีความเชื่อมโยงกับ การบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ธัญพืชขัดสี และน้ำตาล กรีนพีซระบุว่าผู้เสียชีวิต 1 ใน 5 ทั่วโลก มีสาเหตุจากการบริโภคอาหารที่ไม่มีผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดในการพัฒนาโรคและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content