1 เมษายน 2564 จ. ภูเก็ต – ระยอง – ตรังนำร่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จัดการปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

ที่มา: https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000030947

นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน และการดำเนินการตามหลัก 3R ว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการหาแนวทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจัดการปัญหาขยะพลาสติกว่า “โครงการดังกล่าวฯ เป็นการดำเนินงานที่มีเป้าหมายสอดคล้องกับวาระแห่งชาติ เรื่องนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG Model รวมทั้ง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๗๓ และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕” “ขยะพลาสติกเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับทุกคน เราต้องก้าวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้และการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน” Dr. Giuseppe Businiอัครราชทูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวเสริมว่า “โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างระดับภูมิภาคและยุโรป โดยดำเนินงานใกล้ชิดกับประเทศไทยในการป้องกันขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่ทะเล ซึ่งโครงการนำร่องสามารถส่งเสริมความพยายามให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมกับการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและสั่งสมประสบการณ์จากระดับท้องถิ่นรวมไปถึงระดับชุมชน ระดับครัวเรือน ภาคธุรกิจในท้องถิ่น และหน่วยงานในระดับท้องถิ่น เราหวังว่าโครงการนำร่องนี้จะเป็นแนวปฏิบัติที่ดี และก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและการพัฒนาทางด้านนโยบายในอนาคต”

การเชื่อมโยงระหว่างความคิดในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และนานาชาติทางด้านนโยบาย ก็เป็นสิ่งสำคัญ 
Mr. Jan Scheerอัครราชทูต และรองหัวหน้าปฏิบัติการและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยกล่าวว่า “ผมมั่นใจว่าเราสามารถเรียนรู้ได้จากการแก้ปัญหาและเรียนรู้ได้จากการที่ จ. ภูเก็ต ระยอง และตรัง เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีสิ่งแวดล้อมทางทะเลอันล้ำค่า เราสามารถเรียนรู้ได้จากความท้าทายที่ต้องเผชิญในแต่ละพื้นที่และเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่งที่ทางโครงการนำร่องมีภาคีที่มีประสบการณ์และมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้พบภาคีเครือข่ายทุกท่านในวันนี้ และขอให้โครงการนำร่องดำเนินการลุล่วง และประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี” ภายในงาน ไม่เพียงแต่มีการนำเสนอของโครงการนำร่องในแต่ละพื้นที่ แต่ยังมีการจัดกิจกรรมกลุ่มที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกเหนือจากโครงการนำร่องทั้งสามจังหวัดในประเทศไทยแล้ว โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล ซึ่งดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และ Expertise France (EF) ยังสนับสนุนโครงการนำร่องกว่า ๒๐ โครงการใน ๕ ประเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องการจัดการขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การบริโภค และการผลิตพลาสติกอย่างยั่งยืน ตลอดจนการลดขยะ ณ แหล่งทิ้งขยะลงสู่ทะเลจากเรือพาณิชย์ และเรือประมงในประเทศจีน อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ประสบการณ์และบทเรียนของโครงการนำร่อง จะสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีและก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านนโยบายในอนาคต

โครงการนำร่องทั้ง ๓ จังหวัดประกอบด้วย

๑) โครงการส่งเสริมรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับท้องถิ่น เพื่อปรับปรุงรูปแบบ และนโยบายด้านการจัดการขยะพลาสติก ในพื้นที่ ต. เกาะลิบง จ. ตรัง ดำเนินงานโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เกาะลิบง จ. ตรัง มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหญ้าทะเลมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพะยูน เพื่อให้เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลเอาไว้ โครงการนำร่องร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น และภาคการท่องเที่ยว เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดขยะพลาสติก และจะดำเนินงานให้จัดการขยะพลาสติกให้ดีขึ้น

๒) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะพลาสติกจากบ้านเรือน เพื่อการรีไซเคิลแบบวงจรปิด ดำเนินงานโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชุมชนท้องถิ่น โรงเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของพลาสติกใน จ. ระยอง มีส่วนร่วมในการคัดแยก และเก็บรวบรวมขยะพลาสติกให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับอัตราการรีไซเคิล และลดการรั่วไหลของพลาสติกลงสู่ทะเล

๓) โครงการจัดการและลดขยะพลาสติกภาคครัวเรือนและธุรกิจใน จ. ภูเก็ต ดำเนินงานโดยมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมภูเก็ต จ. ภูเก็ต ในฐานะที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะลดและจัดการปริมาณขยะพลาสติกในภาคธุรกิจและครัวเรือนให้ดีขึ้น โดยมีการใช้วัสดุทางเลือกแทนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในภาคบริการส่งอาหารและภาคการท่องเที่ยว

โครงการนี้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้สามารถลดปริมาณขยะในทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสหภาพยุโรป (EU) และกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) โครงการฯ ดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และ Expertise France (EF) ร่วมกับประเทศภาคี ได้แก่ ประเทศจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยในประเทศไทย โครงการฯ ร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content