โครงสร้างแบบแข็ง… ซ้ำเติมปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง?

           ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนคงเคยได้ยินข่าวปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยตามสื่อต่างๆ ปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ เช่น การกัดเซาะชายฝั่งในจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และบริเวณชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นต้น ซึ่งการกัดเซาะชายฝั่งในจังหวัดริมทะเลเหล่านี้ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  เนื่องจากกัดเซาะชายฝั่งได้กระทบกับชีวิตประชาชนจำนวนมาก รวมทั้งส่งผลกระทบเชิงลบในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการสูญเสียที่ดิน ที่ทำกิน และที่อยู่อาศัย ทำให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตไปจากเดิม หรือถึงขนาดไม่สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เดิมต่อไปได้ ต้องอพยพย้ายถิ่นไปยังพื้นที่อื่น ดังเช่นกรณีของชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน รวมทั้งการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งและความสวยงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะหาดที่มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

           สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของประเทศในปัจจุบันเป็นอย่างไร? จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ซึ่งได้วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมร่วมกับการลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณที่ถูกกัดเซาะชายฝั่งใน พ.ศ. 2563 พบว่า พื้นที่ชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีความยาวประมาณ 823 กิโลเมตร (คิดเป็น 26% ของความชายฝั่งทั้งหมดของไทย 3,151 กิโลเมตร) เพิ่มขึ้น 29 กิโลเมตรจาก พ.ศ. 2562 ที่มีพื้นที่ชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 794 กิโลเมตร โดยปัจจุบันดำเนินการแก้ไขแล้ว 734 กิโลเมตร และพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขอีก 90 กิโลเมตร นอกจากนี้ ได้พบข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ ถึงแม้ในพื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรงและกัดเซาะน้อยจะได้รับการแก้ไขดีขึ้น แต่กลับมีการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่มีการกัดเซาะปานกลาง สำหรับพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างชัดเจน ได้แก่ จังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี มีการกัดเซาะชายฝั่งเป็นระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตร

           จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเมื่อพิจารณาถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ก็พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เกือบทั้งหมด และยังพบว่ามีสาเหตุมาเกิดจากโครงสร้างแบบแข็ง (Hard Solution) มากถึง 62% แบ่งเป็น สาเหตุจากการทำเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากร่องน้ำ (Jetty) 39% ซึ่งเป็นตัวการดักตะกอนด้านหน้าเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากร่องน้ำ และเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงไปยังอีกด้าน เช่น กรณีบริเวณปากน้ำชะอำ และปากน้ำปราณบุรี เป็นต้น และสาเหตุจากการสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด (Sea Wall) 23% ซึ่งกรณีนี้มักพบว่าการกัดเซาะย้ายไปบริเวณ ณ จุดสิ้นสุดของโครงสร้าง หรือที่เรียกว่า End Effect นอกจากนี้ เมื่อคลื่นปะทะกับกำแพง จะทำให้เกิดแรงสะท้อนพัดพาทรายหายไปและโครงสร้างของกำแพงทรุดตามมา (สาเหตุที่เหลือเกิดจากการทำลายป่าชายเลน 31% และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ 7% เช่น พายุใหญ่ และแนวปะการังตาย เป็นต้น)

           ที่ผ่านมาเมื่อเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักจะแก้ปัญหาโดยการสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นโครงสร้างแบบแข็งมาเป็นแนวกันคลื่นและป้องกันการกัดเซาะ เช่น เขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากร่องน้ำ รวมถึงกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด เป็นต้น ซึ่งการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้นในบริเวณอื่นแทน ถึงแม้จะมีการพยายามแก้ไขโดยการสร้างโครงสร้างแบบแข็งเพิ่มเติมในบริเวณที่เกิดปัญหา ก็ยิ่งทำให้เป็นการซ้ำเติมปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น เนื่องจากทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องไปยังจุดอื่นกลายเป็นปัญหาสะสมแบบไม่รู้จบ หรือที่เรียกว่าผลกระทบแบบโดมิโน (Domino Effect) แสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขที่ยังไม่ตรงจุด

ทางออกของปัญหากัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างแบบแข็งดังกล่าว คือ ต้องหยุดการก่อสร้างต่อ เพื่อลดการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งเพิ่ม และจัดหาโครงสร้างแบบอ่อน ณ จุดสิ้นสุดของโครงสร้างเหล่านั้น เช่น การปักไม้ไผ่เพื่อชะลอความแรงของคลื่น และการเติมทรายเข้าไปในบริเวณที่ถูกกัดเซาะอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น โดยที่ผ่านมาพื้นที่ที่มีการดำเนินการเติมทรายแล้ว ซึ่งได้ผลชัดเจน ช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเกิดการยอมรับของประชาชน คือ บริเวณหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่า สำหรับบริเวณที่เป็นเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากร่องน้ำให้ใช้วิธีถ่ายเททรายจากข้างที่ถูกดักไว้ไปยังอีกข้างหนึ่งที่มีการกัดเซาะแทน จะทำให้ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะที่เกิดขึ้นได้

จัดทำบทความโดย นายเฉลิมวุฒิ อุตโน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์  กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). ข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565. เอกสารอัดสำเนา.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย (กัดเซาะชายฝั่งตอนที่ 1 ปี 2561). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, จากเว็บไซต์: https://www.youtube.com/watch?v=9VM8qwPFxA8

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่ง (กัดเซาะชายฝั่งตอนที่ 2 ปี 2561). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, จากเว็บไซต์: https://www.youtube.com/watch?v=kVyQOIWQpsA

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). การแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง (กัดเซาะชายฝั่งตอนที่ 3 ปี 2561). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, จากเว็บไซต์: https://www.youtube.com/watch?v=TuLvoiNaI_w

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563).รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content