เส้นทางสู่การเป็นมรดกโลก (World Heritage)

ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จำนวน 5 แห่ง คือ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร นครประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้ง และผืนป่าดงพญาเย็น – เขา ใหญ่ และพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน

ทั้งนี้ กว่าจะขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกมีขั้นตอน ดังนี้

  1. หน่วยงานเจ้าของแหล่งจัดทำเอกสารนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Nomination Dossier)
  2. คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม/ธรรมชาติ และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก พิจารณาเอกสารนำเสนอฯ
  3. คณะรัฐมนตรีพิจารณาเอกสารนำเสนอฯ
  4. รัฐภาคีโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ส่ง Nomination Dossier ให้ศูนย์มรดกโลก และองค์กรที่ปรึกษา ตรวจประเมินแหล่งมรดกของรัฐภาค
  5. หลังการส่งเอกสารฯ ไปยังศูนย์มรดกโลก ฝ่ายเลขานุการของศูนย์มรดกโลก จะตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารนำเสนอฯ และหากเอกสารครบถ้วนจะส่งไปยังองค์กรที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบเอกสารนำเสนอฯ และประเมินแหล่ง
  6. องค์กรที่ปรึกษาส่งผลการประเมินและข้อเสนอแนะให้ศูนย์มรดกโลก เพื่อจัดส่งให้คณะกรรมการมรดกโลก และรัฐภาคี
  7. รัฐภาคีสามารถมีหนังสือถึงประธานกรรมการมรดกโลก และสำเนาถึงองค์กรที่ปรึกษา เพื่อขอปรับแก้ไขข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดโดยการประเมินขององค์กรที่ปรึกษา
  8. คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเอกสารนำเสนอฯ ในการประชุมสมัยสามัญ
    • ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Inscribed)
    • ให้ส่งกลับเอกสารนำเสนอฯ (Refer)
    • ให้เลื่อนการพิจารณา (Defer)
    • ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ (Not Inscribe)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content