เพิ่มขีดความสามารถรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน

แม้กลไกในการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้การเจรจาระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามความตกลงปารีส จะเป็นไปแบบสมัครใจไม่มีกฎบังคับหรือกำหนดระยะเวลา แต่ก็อาจต้องอาศัยปัจจัยหรือมาตรการด้านอื่น ๆ มาเป็นส่วนประกอบ เช่น เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาตรการกระตุ้นหรือจูงใจสังคมให้เกิดความความตื่นตัว หรือกลไกที่สามารถสร้างรายได้หรือก่อให้เกิดการจ้างงาน ที่สอดคล้องกับการส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกและบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของนานาชาติทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย พุ่งเป้าไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ลดการใช้เชื้อเพลิง โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิล หรืออินทรีย์สารใต้พื้นโลกที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ทะเลลึกเมื่อหลายพันล้านปีก่อนที่ย่อยสลายกลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) โดยถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงและแหล่งกำเนิดพลังงานต่างๆ และถือเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไป อย่าง น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ

หลายประเทศ ได้ออกแบบมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกการเพิ่มเติม เช่นการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจลดการใช้พลังงาน หรือหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทเอกชนและภาครัฐในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนการผลิต ในภาคของพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เช่นเดียวกับประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งเป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้จัดทำแผนการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแผนปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงกลไกและกระบวนการ ต่างๆ ที่ใช้จัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสอดคล้องกับแนวทางของระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ มาตรการสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนอกเหนือจากการ ให้ความรู้ ฝึกอบรม พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและเพิ่มความชำนาญ ส่งเสริมความเข้าใจและความสามารถในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนแล้ว ยังได้สร้างกลไกความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลหลักด้านการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยได้หารือเชิงนโยบายเพื่อมุ่งจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ผ่านการบูรณาการการบริหารทรัพยากรน้ำและการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่ระดับลุ่มน้ำและชุมชนเพื่อผลปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จัดทำบทสรุปนโยบายร่วมกันสำหรับเป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงานในภาคส่วนน้ำ เชื่อมโยงไปยังภาคส่วนอื่นๆ อย่างภาคการเกษตร ภาคสาธารณสุข

ขณะเดียวกัน สผ.ยังได้ขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งระดับภูมิภาคอาเซียน และในระดับนานาชาติ อาทิ โครงการความร่วมมือกับประเทศเวียดนาม ในการสร้างกลไกและแผนแม่บทในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้มาตรการสีเขียว หรือมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) ที่มุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูและการจัดการธรรมชาติหรือระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โครงการ จัดทำกรอบทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยร่วมมือกับรัฐบาลสวีเดน และรัฐบาลเยอรมัน เพื่อสร้างกลไก การประเมินระดับบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบการคลัง ภาครัฐ ออกแบบกลยุทธ์และแนวทางสำหรับการวางแผนและการจัดทำงบประมาณเพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงาน แผนการปฏิบัติทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการในอนาคต

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content