สินค้าที่ไม่มีส่วนทำลายป่าของสหภาพยุโรป

ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า กำหนดให้ผู้ผลิตต้องแสดงหลักฐานการตรวจสอบสถานะผลิตภัณฑ์ (Due Diligence) ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า สามารถติดตามกระบวนการผลิตสินค้าได้ตลอดกระบวนการผลิต

ป่าสนถูกทำลาย
ที่มาภาพ: https://pixabay.com/images/id-4652916/

โลกมีพื้นที่ป่าปกคลุม ประมาณร้อยละ 31 ของพื้นดิน โดยป่าไม้จะทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนดิน และเป็นที่อยู่อาศัยของคนอีกหลายพันล้านคน ตลอดจนช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ  ด้วยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปกักเก็บไว้ในรูปของคาร์บอนในเนื้อไม้และใบไม้ ทำให้ต้นไม้ที่มีอายุยาวนาน มีการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้มาก และหากต้นไม้เหล่านี้อยู่รวมกันเป็นป่า จะยิ่งมีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ และขยายให้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น สำหรับใช้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน และลดการเกิดภาวะโลกรวนในขณะนี้

จากผลการศึกษาของ FAO ระบุว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 1990 – 2020) โลกได้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไป 420 ล้านเฮกตาร์ (2,625 ล้านไร่) ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขตร้อน และป่ากึ่งเขตร้อน อีกนัยหนึ่ง ในทุกๆ ปี มีพื้นที่ป่าประมาณ 10 ล้านเฮกตาร์ทั่วโลกถูกทำลาย ขณะที่ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีการทำลายป่ามากที่สุดในรอบทศวรรษ บริเวณผืนป่าอะเมซอน รวมถึงประเทศในตลาดเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา บราซิล ปรากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา และโบลิเวีย มีการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ และการเพาะปลูกถั่วเหลืองจำนวนมาก ขณะที่สหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้นำเข้าถั่วเหลืองและเนื้อวัวรายใหญ่จากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกในทวีปอเมริกาใต้รองจากจีน ซึ่งการบริโภคสินค้ากลุ่มนี้ของสหภาพยุโรปมีส่วนทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าดังกล่าว ประมาณร้อยละ 10 และยังเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

สหภาพยุโรปได้มีแนวคิดในการยับยั้งการทำลายพื้นที่ป่า โดยการบริโภคสินค้าที่ไม่มีส่วนทำลายพื้นที่ป่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chains) โดยร่วมกันทำกฎระเบียบการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนความร่วมมือเรื่องสินค้าที่ไม่ทำลายพื้นที่ป่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาใต้ และสหภาพยุโรป เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 รัฐสภาของสหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้ยกร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free Products) เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย รวมถึงลดความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่า   

กฎหมายข้อบังคับในเรื่องนี้ ปัจจุบันยังไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรียุโรป (European Council) และคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) แต่สหภาพยุโรปก็ได้เตรียมการที่จะนำไปบังคับใช้และปฏิบัติในระยะต่อจากนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 โดยมีช่วงระยะเวลาให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาปรับตัว ภายหลังที่กฎหมายบังคับใช้ไปแล้วสองปี จะมีการทบทวนขอบเขตสินค้า คำจำกัดความของการทำลายป่า และการเกิดป่าเสื่อมโทรม เพื่อให้มีความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน

ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า กำหนดให้ผู้ผลิตต้องแสดงหลักฐานการตรวจสอบสถานะผลิตภัณฑ์ (Due Diligence) ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า สามารถติดตามกระบวนการผลิตสินค้าได้ตลอดกระบวนการผลิต ครอบคลุมสินค้า ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน วัว ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ และไม้ ผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อวัว ช็อกโกแลต เฟอร์นิเจอร์ ถ่านไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อบังคับในการตรวจสอบสถานะผลิตภัณฑ์ จะส่งผลให้ประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ใดที่ถูกห้ามจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรป บริษัทจะไม่ได้รับการอนุญาตให้ขายสินค้าในสหภาพยุโรป หรือส่งออกสินค้าเหล่านั้นออกจากสหภาพยุโรป ในกรณีนี้ บริษัทจึงต้องแสดงข้อมูลหลักฐานให้เห็นว่า สินค้าเหล่านั้นผลิตขึ้นโดยไม่ได้มีส่วนทำลายป่า หรือผลิตบนที่ดินที่ไม่ส่งผลทำให้ป่าเสื่อมโทรม ภายหลังของวันที่ 31 ธ.ค. 2020 รวมถึงดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศผู้ผลิตสินค้า กฎหมายสิทธิมนุษยชน และกฎหมายสิทธิของชนพื้นเมือง

สหภาพยุโรปให้ความสำคัญเรื่องการยับยั้งและป้องกันการทำลายพื้นที่ป่า ด้วยการออกกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่ามาควบคุม เพื่อไม่ให้สินค้าที่ผลิตและนำมาจำหน่ายในสหภาพยุโรปมีส่วนสนับสนุนการทำลายป่ามากขึ้น ในส่วนของประเทศไทยที่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าที่ต้องส่งสินค้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปจึงต้องมีการเตรียมรับมือต่อกฎหมายฉบับนี้ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการแข่งขันจากคู่แข่ง (แม้จะมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปไม่มาก) อีกทั้งการปรับรูปแบบการผลิตสินค้าที่ไม่ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในอากาศได้มากขึ้น และสามารถคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ของประเทศและของโลกให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น 

จัดทำบทความโดย
นายฉัตรชัย อินต๊ะทา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง

European Parliament (2022) Regulation on deforestation-free Products. Retrieved on January 15, 2023 from https://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/ATAG/2022/733624/EPRS_ATA(2022)733624_EN.pdf

International Institute for Sustainable Development (2022) EU Paves Way for Landmark Deforestation-free Products Regulation. Retrieved on January 13, 2023 from https://sdg.iisd.org/news/eu-paves-way-for-landmark-deforestation-free-products-regulation/

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content