ลดมลภาวะทางแสง…อย่างไร

ปัจจุบันมลภาวะทางแสง พบได้มากในเขตเมือง ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดตั้งไฟส่องทาง ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ใกล้บ้านเรือน ซึ่งเขตเมืองมีการสร้างถนนตัดกันไปมา ได้ติดตั้งไฟส่องสว่างตามแนวถนน เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้สัญจรในเวลากลางคืน และจุดที่มีการติดตั้งป้ายโฆษณา เดิมป้ายมักมีลักษณะเป็นภาพนิ่ง ในช่วงเวลากลางคืนจึงจะเปิดไฟส่องสว่างไปเฉพาะที่ป้าย แสงจึงไม่รบกวนชุมชนมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งป้ายโฆษณาดิจิทัลหรือจอแอลอีดีขนาดใหญ่ตามทางแยก หรือตามอาคารขนาดใหญ่ย่านการค้า ป้ายดังกล่าวได้ปล่อยแสงที่มีความเข้มแสงสูง และภาพที่แสดงสามารถสลับเป็นแสงสีต่างๆ เพื่อให้มองเห็นภาพสวยงาม เคลื่อนไหวได้ และมองเห็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างชัดเจน ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบจากแสงเหล่านั้น

นอกจากนั้น ความเจริญทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยผลักดันให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น เช่น บนภูเขา ในป่า และบนเกาะ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างจากการแหล่งพลังงานทดแทน อาทิ แผงโซล่าร์เซล กังหันลม และเครื่องปั่นกระแสไฟจากน้ำ เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าว มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และติดตั้งใช้งานได้เอง ทำให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างในเวลากลางคืนในพื้นที่ห่างไกลได้ทั่วถึง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมักอยู่ติดกับพื้นที่ที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่มีความเข้มแสงสูงและเปิดไว้นานเกินความจำเป็น ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ในพื้นที่โดยรอบ

มลภาวะทางแสงจึงเกิดจากการมีแสงในที่มืดหรือกลางคืน สามารถแบ่งตามลักษณะผลกระทบจากแสง ดังนี้

  • ภาวะที่มีแสงสว่างปกคลุมทั่วที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นความมืดของท้องฟ้าในเวลากลางคืนได้ชัดเจน
  • ภาวะแสงจ้า เกิดขึ้นเมื่อมีแสงไฟสว่างจ้าส่องเข้าตา ทำให้ไม่สามารถมองระยะทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจน เป็นปัญหาแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ คนเดินเท้า และผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ตำแหน่งการติดตั้งระบบให้แสงสว่างดังกล่าว
  • ภาวะแสงส่องทะลุทะลวง แสงได้ส่องเข้าไปยังที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้ๆ รวมถึงที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรบกวนรูปแบบการนอนหลับของคนและสัตว์
  • แสงที่มาจากป้ายสัญญานต่างๆ อาทิ ป้ายสัญญานไฟ  และป้ายโฆษณา ที่มากเกินไป ทำให้เกิดความสับสนและจำแนกประเภทไม่ได้

สาเหตุของมลภาวะทางแสงมีดังนี้

  • ความเป็นเมือง (Urbanization) การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถมองเห็นและดำเนินกิจกรรมได้ โดยไม่เกิดความเสียหาย และมีความปลอดภัย
  • การออกแบบควบคุมทิศทางแสงไม่เหมาะสม (Poor Lighting Design) แสงที่เคลื่อนที่ไปยังทิศทางต่างๆ ขาดการควบคุม และมีทิศทางไม่เหมาะสม ทำให้เกิดมลภาวะทางแสง อาจยกเว้นการควบคุมทิศให้แสงส่องลงด้านล่างในบางกรณี
  • การใช้แสงเกินความจำเป็น (Excessive Use of Lighting) การใช้แสงในที่สาธารณะ ย่านอาคารธุรกิจ ศูนย์กีฬา และที่อยู่อาศัย โดยไม่จำเป็น ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น

ผลกระทบจากมลภาวะทางแสงมีหลายรูปแบบ ดังนี้ 

  • ระบบนิเวศ (Disruption of Ecosystems) แสงไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์ รูปแบบการอพยพหรือเคลื่อนย้ายที่อยู่ และวงจรการผสมพันธุ์ของสัตว์ ทั้งนี้ สัตว์ที่ออกหากินกลางคืนมักจะอาศัยความมืดในการล่าสัตว์ ผสมพันธุ์ และเดินทาง
  • สุขภาพของมนุษย์ (Impact on Human Health) การอยู่ในสภาวะที่มีแสง ส่งผลต่อระบบนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ เช่น ทำให้เกิดความผิดปกติในการนอน เกิดความเหนื่อยล้าง่าย และมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว รวมถึงการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคประจำตัว รวมทั้งโรคอ้วน และโรคซึมเศร้า
  • การสูญเสียพลังงานและทรัพยากร (Waste if Energy and Resources) มลภาวะทางแสง มักเป็นการใช้พลังงานและงบประมาณเกินความจำเป็น และไม่มีประสิทธิภาพ เป็นที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แนวทางการแก้ไขมลภาวะทางแสง ควรมีความร่วมมือกันในทุกระดับ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และองค์กร ดังนี้

  • ลดการใช้แสงโดยไม่จำเป็น หรือจำกัด รวมถึงลดการใช้หลอดไฟส่องสว่าง
  • สร้างพื้นที่ที่มีความมืดเชื่อมกันเป็นแนว โดยการออกแบบพื้นที่ให้มีแสงผ่านน้อย ไปจนถึงที่มืดตามธรรมชาติ
  • ใช้ที่ครอบหลอดไฟ เพื่อจำกัดแสงที่ปล่อยออกมา อีกทั้งแสงที่ปล่อยมาจากอุปกรณ์ควรมีการควบคุมและให้มีทิศทางพุ่งลงด้านล่าง เพื่อไม่ให้แสงส่องออกไปอย่างไร้ทิศทาง
  • เลือกใช้หลอดไฟที่ให้แสงนวลสบายตา แทนหลอดไฟที่ให้แสงสีขาวหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าน้อยกว่า
  • ติดตั้งเครื่องจับเวลา (Timers) และเครื่องตรวจจับสัญญาน (Sensors) เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคุมการเปิดปิดแสงตามความต้องการ หรือระยะเวลาที่จะใช้ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานและทรัพยากร

แสงเกิดประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถสร้างผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยความมืดในการดำรงชีวิตได้มากด้วยเช่นกัน ดังนั้น การติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างจึงควรได้รับการออกแบบการให้มีแสงสว่างในระดับที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความเข้มของแสง ทิศทางของแสง อุปกรณ์ให้แสง และนำเทคโนโลยีมาช่วยควบคุมการให้แสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพิจารณาผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยและระบบนิเวศในบริเวณดังกล่าวร่วมด้วย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสง

ที่มา:

SDSN Northern Europe, 2024. Lights out! Embrace the dark sky. Retrieved on 12 February, 2024 from https://www.unsdsn-ne.org/en/lights-out-embrace-the-dark-sky

บทความโดย นายฉัตรชัย อินต๊ะทา นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม (กตป.)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content