ย่านชุมชนเก่า

ย่านชุมชนเก่า หมายถึง พื้นที่ทางกายภาพที่แสดงออกถึงลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน/ก่อกำเนิดที่แตกต่างกันตามบริบทแวดล้อม ทั้งที่เป็นเมืองหรือในพื้นที่ชนบท มีพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐาน/ก่อกำเนิดดังกล่าวที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประจักษ์ได้จากทั้งสภาพทางกายภาพที่โดดเด่น เช่น โครงสร้างของชุมชน ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์แวดล้อม และสภาพทางสังคมวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณี และกิจกรรมของชุมชน ประกอบควบคู่กันอย่างเหมาะสม ภายใต้บริบทสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง (Built Environment) และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (Natural Environment)

แบ่งชนิดลักษณะของย่านชุมชนเก่าเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  1. ชุมชนริมน้ำ เป็นย่านชุมชนที่ยึดเอาลำน้ำในการตั้งถิ่นฐาน อาจจะประกอบไปด้วยตัวตลาดและส่วนบ้านเรือนพักอาศัย มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับสภาพที่ตั้งและประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงองค์ประกอบในเชิงระบบนิเวศลำน้ำ พืชพันธุ์ และระบบการผลิตเข้ามาเกี่ยวเนื่องด้วย
  2. ชุมชนรถไฟ เป็นย่านชุมชนที่เกิดจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟ หรือการขยายตัวของย่านชุมชนเดิมที่เกิดจากการเข้ามาของสถานีรถไฟ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นย่านการค้า หากเป็นสถานีที่ผ่านชุมชนขนาดใหญ่หรือเป็นชุมทาง มักจะมีกลุ่มสถาปัตยกรรมเกี่ยวเนื่องกับรถไฟที่มีลักษณะเฉพาะ
  3. ชุมชนตลาด/การค้า เป็นย่านชุมชนที่มีกิจกรรมหรือเคยมีกิจกรรมด้านการค้าเป็นหลัก มีลักษณะความเป็นย่านตลาดของเมือง หรือของชุมชนในละแวก อาจประกอบไปด้วยพื้นที่ค้าขายรวม เช่น ตลาดสด และส่วนที่เป็นสถาปัตยกรรมประเภทเรือนแถวหรือห้องแถวค้าขาย
  4. ชุมชนหมู่บ้าน เป็นพื้นที่หมู่บ้านในบริเวณชนบท มีลักษณะเป็นชุมชนพื้นถิ่น ประกอบไปด้วยกลุ่มบ้านเรือนที่สะท้อนลักษณะของท้องถิ่น มีบริเวณบ้าน ลาน และเส้นทางสัญจร เป็นองค์ประกอบของชุมชน และมีความสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมในเชิงระบบวิถีชีวิต มีลักษณะการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสูง
  5. ชุมชนประมง/เกษตร เป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งทำมาหากิน แหล่งทำการผลิต ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นอาจอยู่ไกลจากพื้นที่ของชุมชนออกไป มีพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่าย เช่น แพปลา ท่าเรือ หรือพื้นที่ที่ต้องใช้เพื่อจัดการผลผลิตนั้น เช่น ลานตากข้าว ที่ตากปลา ที่แกะหอย เป็นต้น
  6. ชุมชนชาติพันธุ์ เป็นชุมชนที่มีการรวมกลุ่มการตั้งถิ่นฐานจากการที่มีความเป็นชาติพันธุ์ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศข้างเคียง โดยนำเอาสัมภาระทางวัฒนธรรม องค์ความรู้ ภาษา ประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ ติดตัวมาด้วย แต่มีรูปแบบของการปรับตัวทั้งลักษณะกายภาพของชุมชน และทางด้านสังคมกับบริบทที่ใหญ่กว่าแต่ยังคงเอกลักษณ์เฉพาะบางอย่างเอาไว้ ชุมชนลักษณะนี้จะมีความโดดเด่นในเชิงองค์ประกอบที่ไม่ใช่กายภาพ
  7. ชุมชนโดยรอบโบราณสถาน เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมของอารยธรรมหนึ่ง ๆ ซึ่งอาจหมายถึงการตั้งถิ่นฐานที่ดำเนินการต่อเนื่องมาจากอดีต โดยพบโบราณสถานที่มีความสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน อาทิ สถูป เจดีย์ แนวกำแพงเมือง คูน้ำ เป็นต้น โดยองค์ประกอบเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดขอบเขตชุมชนในปัจจุบัน
  8. ชุมชนที่เกี่ยวกับความทรงจำ เป็นชุมชนหรือส่วนของชุมชนที่เป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำร่วมกันของคนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่ชุมชน โดยมากมักเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในอดีต แต่ปัจจุบันสถานที่เหล่านั้นไม่ได้มีหน้าที่เพื่อกิจกรรมนั้น ๆ อีกแล้ว คงเหลือเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าต่อสถานที่นั้น ๆ

เว็บไซต์ กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content