พื้นที่สงวนชีวมณฑล

หัวใจสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ ต้องมี ‘มนุษย์’ อยู่ร่วมกับ ‘ธรรมชาติ’ มีการบริหารจัดการพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน พื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้ง 5 แห่งในประเทศไทย จึงถือเป็นตัวอย่างที่ดีมีการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยไม่แยก ‘มนุษย์’ ออกจาก ‘ธรรมชาติ’ ตามหลักสิทธิชุมชนที่มองมิติด้านสังคม วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นสัมพันธ์กับป่าอย่างเป็นระบบ

เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงด้านมนุษย์และชีวมณฑล (International Co-ordinating Council on the Man and the Biosphere Programme: MAB-ICC) ครั้งที่ 33 ทางยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียน ดอยหลวงเชียงดาว เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก และเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของประเทศไทย บางท่านอาจจะยังสงสัยกันอยู่ว่า พื้นที่สงวนชีวมณฑลคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ     

มนุษย์ต่างมีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต รวมทั้งเป็นปัจจัยในการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ หากไม่คำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมทั้งคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงด้วย จึงเกิความพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมท้องถิ่น พื้นที่สงวนชีวมณฑล (ฺBiosphere Reserve) เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and the Biosphere Programme-MAB) ของ ยูเนสโก ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และระบบนิเวศ ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ถูกกำหนดให้มีบทบาทหน้าที่หลัก
3 ประการ ได้แก่

  1. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น บนฐานของความยั่งยืน
  3. สนับสนุนกรสร้างองค์ความรู้ การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ รวมทั้งเผยแพร่ตัวอย่างและบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของพื้นที่สงวนชีวมณฑล

ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล 5 แห่ง ได้แก่

  1. พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในป่าเขตร้อน และเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยระบบนิเวศเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง
  2. พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า จังหวัดเชียงใหม่ ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2520 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีบทบาทสำคัญในการศึกษา วิจัยทางด้านลุ่มน้ำธรรมชาติและอุทกวิทยา เป็นต้นแบบของการจัดการต้นน้ำ รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
  3. พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก จังหวัดลำปาง ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2520 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นแหล่งป่าไม้สักธรรมชาติ และีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและคุณค่าในฐานะแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ แหล่งภาพเขียนสีประตูผา และแหล่งภาพเขียนโบราณบ้านห้วยหก
  4. พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จังหวัดระนอง ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล เป็นแนวป้องกันลมพายุ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด
  5. พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยหลวงเชียงดาวมีระบบนิเวศภูเขาหินปูนที่สำคัญของประเทศไทย มีพืชกึ่งอัลไพน์ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของจีน และยังเป็นถิ่นอาศัยของพรรณไม้กว่า 2,000 ชนิด หรือคิดเป็น 20% ของพรรณไม้ในประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ กวางผาและเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้ นอกจากนี้ ดอยหลวงเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ปกาเกอะญอ อาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาที่สำคัญ  อีกทั้ง ดอยหลวงเชียงดาวยังมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยมีการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการพื้นที่คุ้มครอง และแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศต้นน้ำด้วยชุมชน

หัวใจสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ ต้องมี ‘มนุษย์’ อยู่ร่วมกับ ‘ธรรมชาติ’ มีการบริหารจัดการพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน พื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้ง 5 แห่งในประเทศไทย จึงถือเป็นตัวอย่างที่ดีมีการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยไม่แยก ‘มนุษย์’ ออกจาก ‘ธรรมชาติ’ ตามหลักสิทธิชุมชนที่มองมิติด้านสังคม วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นสัมพันธ์กับป่าอย่างเป็นระบบ

จัดทำบทความโดย นางสาวอัฏฐารจ ชาวชน
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. “พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.dmcr.go.th/detailAll/44192/nws/22.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช . “ทำความรู้จักกับพื้นที่สงวนชีวมณฑล”.  [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จากhttps://m.facebook.com/DNP1362/photos/a.1609578269357075/2926463054335250/.

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว. “พื้นที่สงวนชีวมณฑล”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.chiangdao-biosphere.com/.

โครงการมนุษย์และชีวมณฑล พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า. (2560). จุลสารพื้นที่สงวนชีวมณฑล แม่สา-คอกม้า ปีที่ 1
ฉบับที่ 1 [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://th-th.facebook.com/maesakogma.br/.

ผู้จัดการออนไลน์. “อะเมซิ่ง “ดอยเชียงดาว” พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก” [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://mgronline.com/travel/detail/9640000095130.

สำนักข่าว ไทยพีบีเอส. “ยูเนสโกประกาศ “ดอยเชียงดาว” เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของไทย”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/307949.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content