ผลกระทบต่อการใช้สารเคมีทางการเกษตร

ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยนอกจากมุ่งเน้นการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรไทยนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชเป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จากข้อมูลการรายงานของกรมวิชาการเกษตรในปี 2565 พบว่าปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรสูงถึง 0.114 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.32 จาก พ.ศ. 2563 ที่มีการนำเข้ารวม 0.098 ล้านตัน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ที่ใช้ภายในประเทศได้มาจากการนำเข้า ซึ่งมีแนวโน้มในการนำเข้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้มีการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในผลผลิตทางการเกษตรและในสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่มากตามไปด้วย โดยเฉพาะการสะสมในดินและน้ำ รวมถึงในห่วงโซ่อาหาร ถือว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่ควรตระหนัก

สารกำจัดศัตรูพืช คือ สารที่มีจุดมุ่งหมายใช้เพื่อป้องกัน ทำลาย ดึงดูด ขับไล่ หรือควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ หรือพืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระหว่างการเพาะปลูก การเก็บรักษา การขนส่ง การจำหน่าย หรือระหว่างกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร อาหาร หรืออาหารสัตว์ หรือเป็นสารที่อาจใช้กับสัตว์เพื่อควบคุมปรสิตภายนอก

เกษตรกรใช้สารเคมีกับนาข้าว

สารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดมีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ เกิดอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ระมัดระวังตามคำแนะนำ หรือเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น การชำรุดแตกหัก รั่วไหล ของอุปกรณ์การฉีดพ่น และภาชนะบรรจุ รวมทั้งการกำจัดภาชนะที่ใช้แล้วไม่ถูกต้อง อีกทั้งมนุษย์อาจได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การกิน การหายใจ การสัมผัสทางผิวหนังหรือดวงตา ผู้ที่มีหน้าที่พ่นสารกำจัดศัตรูพืชจะมีโอกาสได้รับสารผ่านทางผิวหนังมากที่สุด นอกจากนั้นรอยแผลบนผิวหนัง การเป็นโรคผิวหนังหรือภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะส่งผลให้มีการดูดซึมสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น กรณีที่ผู้พ่นสารกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายทันทีที่ทำงานเสร็จสิ้น หรือชำระร่างกายได้ไม่สะอาดเพียงพอ จะทำให้ระยะเวลาในการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชนานขึ้น จึงมีโอกาสได้รับสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย

ผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตรที่สำคัญอีกประการ คือ ปัญหาการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสาเหตุเกิดจากการแพร่กระจายของสารเคมีในระหว่างการฉีดพ่น เนื่องจากสารเคมีส่วนใหญ่จะกระจายไปบริเวณกว้างฉีดพ่นลงสู่พื้นดินและบางส่วนระเหยอยู่ในอากาศทำให้มีการสะสมอยู่ในพื้นดินและน้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้ยังทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ในการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ หัวเบียน ผึ้งซึ่งเป็นสัตว์ที่ช่วยผสมเกสรและไส้เดือนดินที่ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุในดินที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ จากการศึกษาการสะสมแคดเมียมและตะกั่วในราก ลำต้น และใบของข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Oryza sativa L.) ในสภาวะการทดลอง พบว่ามีโลหะหนักจำพวกแคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบในสารกำจัดศัตรูพืช และพบการสะสมของโลหะหนักในราก ลำต้นและใบ ของข้าวในดินที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ดินที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักจะถูกดูดซับผ่านทางรากพร้อมกับแร่ธาตุอาหาร เกิดการแพร่กระจายไปสะสมยังเนื้อเยื่อแต่ละส่วน ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของพืช ได้แก่ ใบมีสีซีด ลำต้นสั้น รากสั้นและมีแขนงรากน้อย รวมทั้งมีผลต่อการเจริญเติบโต โลหะหนักมีความคงทน สลายตัวได้ยาก ส่งผลต่อระบบนิเวศและสะสมในสิ่งมีชีวิตต่อไป

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และตรงกับคุณลักษณะตามที่ตลาดต้องการ ทางออกของเกษตรกรคือการใช้สารเคมีมากขึ้น แต่พบว่าการใช้สารเคมีทางการเกษตรมีผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อได้รับสารกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการแพร่กระจายสู่อากาศ สะสมในแหล่งน้ำและในดิน มีผลต่อแมลงหรือสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการทำเกษตรที่มีการใช้สารเคมีทำให้เกิดการสะสมของโลหะหนักที่มาจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่งผลทำให้ต้นพืชดูดซับสารเคมีที่มากจากการสะสมสารเคมีในดินที่ปนเปื้อน

บทความโดย นางสาวสายธาร อินทร์ประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช.

แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/view/1/%. [25 ธันวาคม 2566].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.2562 สารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกษตร.

แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th. [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2567].

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.2556. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. แหล่งที่มา:

https://library.senate.go.th/document/Ext6409/6409657_0002.PDF . [สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567].

ฉัตรพงษ์ คำเลิศ, ลำไย ณีรัตรพันธุ์ และอุไรวรรณ ภูนาพลอ. 2019. การสะสมแคดเมียมและตะกั่วในราก ลำ

ต้น และใบของข้าวไรซ์เบอร์รี่(Oryza sativa L.) ในสภาวะการทดลอง. แหล่งที่มา: https://opac01.rbru.ac.th/multim/journal/04226.pdf . . [สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567].

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content