30 ตุลาคม 2566 บอร์ดสิ่งแวดล้อม เร่งแก้ปัญหา ‘PM2.5’ ตั้งคณะกรรมการฯ ขับเคลื่อน ‘วาระแห่งชาติ’ มลพิษด้านฝุ่นละออง

จัดทำและเผยแพร่โดย กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

ที่มา: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG231027171301595

นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ บอร์ดสิ่งแวดล้อม ได้มีมติเห็นชอบตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละออง เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ รวมทั้ง ยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง พื้นที่การเกษตร รวมถึง หมอกควันข้ามแดนและให้ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านแก้ปัญหาหมอกควันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน โดยมีพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานคนที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานคนที่ 2

สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 ตั้งเป้าลดการเผาไหม้ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติ พร้อมควบคุมการระบายฝุ่นในพื้นที่เกษตรกรรมอื่น ๆ แบ่งการรับมือภัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ กำหนดหลักเกณฑ์การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น หน้ากากอนามัย ยารักษาโรค ใช้การสื่อสารเชิงรุก ตรงจุด ต่อเนื่อง บ่อยครั้ง รวมถึง จัดการไฟในป่าของพื้นที่เกษตรกรรม การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง การสนับสนุนและการลงทุนให้ภาคเอกชนร่วมแก้ปัญหาไฟในป่า และพื้นที่เกษตรกรรม ระยะเผชิญเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพการบัญชาการสถานการณ์ไฟป่าระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม จัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่ ทำงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง โดยเข้มงวดการตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี และให้มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และสุดท้าย ระยะบรรเทา ติดตามประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับคุณภาพอากาศ

ขณะที่ในส่วนของมาตรการการบริหารจัดการภาพรวมพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) การเผาในพื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่า และนำระบบการรับรองผลผลิตทางเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM2.5 Free) มาใช้เป็นเครื่องมือ พร้อมเร่งรัดงานตามแผนปฏิบัติการร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดนระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) และเร่งจัดทำระบบ Big Data ที่บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านคุณภาพอากาศ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content