ตายแบบรักษ์โลก 1 ใน 8 เทรนด์สร้างความยั่งยืน 2023

ภาพเมรุเผาศพ

แหล่งกำเนิดมลพิษอีกหนึ่งแห่งที่หลายคนมองข้าม นอกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือท่อไอเสียจากเครื่องยนต์บนท้องถนนแล้ว นั่นคือ “เตาเผาศพหรือเมรุ” ที่ปล่อยมลพิษออกมามากไม่แพ้กัน เพราะวัดบางแห่งมีพิธีฌาปนกิจศพแทบจะทุกวัน หรือวัดที่มีขนาดใหญ่ ต้องทำการเผามากกว่า 1 ศพ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งกลิ่น ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ไดออกซินและฟิวแรน รวมถึงโลหะหนักต่าง ๆ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ วัด โดยข้อมูลจาก Natural Death Centre ระบุว่า “การเผาศพใน 1 ครั้ง ต้องใช้ทั้งก๊าซและไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับการขับรถยนต์ราวกว่า 805 กิโลเมตร และในกระบวนการเผาศพ 1 ศพ ยังสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง
113 กิโลกรัม”

ยกตัวอย่างกรณีในต่างประเทศ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีกฎหมายรับรองการเปลี่ยนร่างมนุษย์ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก (Human Composting) ที่ใช้หลักการ “ปล่อยให้ร่างผู้เสียชีวิตย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ” โดยการบรรจุศพในโลงที่ย่อยสลายได้ ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ศพจะเปลี่ยนสภาพเป็นดินที่สามารถนำไปใช้ปลูกต้นไม้และทำสวนได้ ซึ่งช่วยป้องกัน
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 1.4 ตัน เมื่อเทียบกับการเผาศพแบบทั่วไป และบริษัทในเนเธอร์แลนด์ได้เปิดตัวโลงศพจากเส้นใยเชื้อราเห็ดที่ย่อยสลายได้ภายใน
30-45 วัน ทำการฝังศพโดยนำร่างผู้เสียชีวิตบรรจุไว้ในโลงเหล็กขนาด 8 ฟุต และใส่วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเข้าไปภายใน จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30-60 วัน ให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการย่อยสลายต่อไป

สำหรับประเทศไทยเราเอง ก็เริ่มให้ความสำคัญและเข้มงวดเกี่ยวกับการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษที่มาจากเตาเผาศพมากขึ้น โดยกรมควบคุมมลพิษออกหลักเกณฑ์แนวทางการยกระดับมาตรฐานเตาเผาศพในประเทศ วิธีการเดินระบบเตาเผาศพ การควบคุมค่าความทึบแสงของเขม่าควันโดยไม่ให้มีการเจือจาง (Dilution) ต้องไม่เกินค่ามาตรฐานความทึบแสง (Opacity) ของเขม่าควันจากเตาเผาศพกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 10 และข้อแนะนำในการลดมลพิษทางอากาศจากการเผา รวมถึงการออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 เพื่อควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมและควบคุมค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องเตาเผาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม วัดและผู้จัดการศพเองก็ต้องปรับตัวร่วมกัน โดยอาจปรับเปลี่ยนวิธีการเผาศพตามเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลง ตามข้อเสนอแนะของภาครัฐในการลดมลพิษจากการเผาศพ แต่ถ้ายังจำเป็นต้องมีการเผาอยู่อาจจะเริ่มจากการคัดแยกวัสดุก่อนเผา เช่น พวงหรีดหรือวัสดุตกแต่งโลงศพอื่น ๆ งดการวางดอกไม้จันทร์ใช้เตาเผาศพชนิด 2 ห้องเผา คือ ห้องเผาศพ
และห้องเผาควัน การควบคุมอุณหภูมิ การตรวจสอบการเผาไหม้สมบูรณ์ และในอนาคตหวังว่า “เทรนด์การตายแบบรักษ์โลก” จะเริ่มเป็นที่นิยมในประเทศเรามากขึ้น ลดการเผา หันมาจัดการศพด้วยวิธีการย่อยสลายแบบธรรมชาติ เพราะนอกจากจะลดพิธีและขั้นตอนในงาน ลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยลดมลพิษทางอากาศได้เยอะมาก ๆ ด้วย และเป็นผลดีกับสุขภาพเราในระยะยาว

บทความโดย นางสาวธิดาดาว พลไตร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานเหมืองแร่และพัฒนาปิโตรเลียม กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กปผ.)
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม KM For Journey to be the writers

ที่มา

กรมควบคุมมลพิษ. หลักเกณฑ์การยกระดับมาตรฐานเตาเผาศพ. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 เมษายน 2566 จาก https://www.pcd.go.th/airandsound/หลักเกณฑ์การยกระดับมาต

กรมควบคุมมลพิษ. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย ออกสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 เมษายน 2566 จาก https://www.pcd.go.th/laws/26137

กองบรรณาธิการ Urban Creature. แคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายใหม่ เปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นปุ๋ยหมักได้ อีกทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 เมษายน 2566 จาก https://urbancreature.co/california-legalizes-human-composting/

สำนักข่าวบีบีซี ประเทศไทย. นิวยอร์กอนุมัติการทำศพเป็น “ปุ๋ยมนุษย์”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 เมษายน 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cpd01rm4jglo

Atirut Duereh. กระทรวงทรัพยากรฯ ประกาศให้ ‘เตาเผาศพ’ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หวังลดอากาศเสียในสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 เมษายน 2566 จาก https://www.sdgmove.com/2022/06/27/crematorium-reduce-air-pollution/

Sarun Ninsira. Sustainability Trends 2023: เปิด 8 เทรนด์สร้างความยั่งยืน อนาคตของคนยุคใหม่ แก้วิกฤตโลกรวน.  [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 เมษายน 2566 จาก https://www.agenda.co.th/social/sustainability-trends-2023/

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content