ชุมชนต้นแบบ “เทศบาลตำบลบ้านคลอง” เปลี่ยนขยะเป็นเชื้อเพลิง

“ขยะ” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราหลงลืมว่าตัวเราเป็นผู้ก่อให้เกิดขยะ จากความต้องการความสะดวกสบาย จนทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการกำจัดขยะที่ผิดไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือหลักวิชาการ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์น้อย จึงก่อให้เกิดผลกระทบตามมา ทั้งกลิ่นเหม็น น้ำเสีย ขยะปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ และทำลายทัศนียภาพ ซึ่งหากเราไม่ช่วยกันลดปริมาณขยะคนละนิดคนละหน่อย โดยเริ่มจากตัวของเราเองก่อน สักวันหนึ่งประเทศไทยคงกลายเป็นกองขยะกองโต ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องร่วมมือ ร่วมใจกันลดและคัดแยกขยะที่เกิดขึ้นในบ้านและนำกลับมาใช้ประโยชน์ หรือสร้างรายได้จากขยะเหล่านั้น ขยะก็จะไม่เป็นขยะอีกต่อไป การแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนขยะมูลฝอยชุมชนที่ไร้ค่าเป็นเงินและรายได้ให้กับเราและชุมชนได้

เทศบาลตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงคุณภาพขยะให้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งในอดีตเทศบาลฯ ประสบปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนจนเกิดขยะล้นเมืองอยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องจากไม่มีการคัดแยกขยะของแต่ละครัวเรือน ทำให้มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนต่อวันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับไม่มีสถานที่ฝังกลบขยะ เทศบาลตำบลบ้านคลอง จึงปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการขยะ โดยศึกษาประเภทของขยะที่เกิดขึ้นภายในตำบลบ้านคลอง เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการ โดยเริ่มจากขยะอินทรีย์ เนื่องจากส่งกลิ่นและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน และได้ระดมทุนจากภายในเทศบาล เพื่อศึกษาและทดลองผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ การหมักขยะอินทรีย์โดยใช้จุลินทรีย์ และการเลี้ยงไส้เดือน เป็นต้น จากนั้นได้ดำเนินการจัดการขยะแห้งให้เกิดเป็นมูลค่า โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งในปี ๒๕๖๑ เทศบาลตำบลบ้านคลอง ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดการขยะทั่วไปเพื่อแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลิงร่วมกับบริษัทวงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อการสร้างต้นแบบความร่วมมือด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตามหลัก 3Rs ประชารัฐ อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำขยะมูลฝอยทั่วไป (ขยะแห้ง) ในส่วนที่รีไซเคิลไม่ได้จากต้นทางแปรรูปเป็นส่วนผสมของเชื้อเพลิงทดแทน (RDF) ที่มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือด้านการจัดการขยะเหลือศูนย์ ( Zero Waste ) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยดำเนินการ (1) การจัดการขยะจากครัวเรือน โดยคัดแยกขยะมูลฝอยที่ได้รับจากชุนชนให้เหลือเพียงขยะแห้ง (2) การปรับปรุงคุณภาพขยะ และ (3) การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ โดยรวบรวมขยะทั่วไปจากครัวเรือนในเขตเทศบาลฯ ขนส่งมายังสถานีขนถ่าย คัดแยกด้วยมือให้ได้ขยะชนิดที่เผาไหม้ได้เป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF1 และรวบรวมในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นขนส่งไปยังบริษัทวงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อปรับปรุงคุณภาพเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF3 ก่อนขนส่งไปยังโรงไฟฟ้า บริษัท โคลเวอร์ พิจิตร จำกัด เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและจำหน่ายเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านคลอง
ที่มา:รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563

จากการดำเนินการของเทศบาลตำบลบ้านคลองมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม มี 3 ภาคส่วนหลักร่วมดำเนินการ ได้แก่ เทศบาลตำบลบ้านคลอง บริษัทวงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท โคลเวอร์ พิจิตร จำกัด โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) นำนโยบาย “เมืองใช้ประโยชน์จากขยะ” ของจังหวัดพิษณุโลก เป็นกรอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และขับเคลื่อน “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน”ร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลก เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะจากครัวเรือน และสามารถใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภทได้อย่างสูงสุด (2) นายกเทศมนตรีปรับวิธีการบริหารจัดการ ผลักดันวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการบริหารจัดการขยะชุมชนที่ชัดเจน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะของประชาชน โดยการสร้างความเข้าใจกับผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของเทศบาล และประชาชน ได้รับรู้สถานการณ์ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น และแนวทางในการจัดการขยะชุมชนที่เหมาะสม โดยคัดแยกขยะเป็น ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ขยะเปียก และขยะแห้ง (3) การสร้างความร่วมมือของชุมชนในการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง การจัดการขยะตามประเภท และประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพต่อชุมชน ทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และ (4) การสนับสนุนของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความร่วมมือของผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาขยะชุมชนที่เกิดขึ้นได้สำเร็จอย่างเป็นระบบ อาทิ บริษัทวงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด รับซื้อขยะชุมชนจากเทศบาลฯ เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ และโรงไฟฟ้าบริษัทโคลเวอร์ พิจิตร จำกัด ผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงจากขยะ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก ส่งเสริมและแนะนำวิธีการคัดแยกและการจัดการขยะ และสำนักงานพลังงานจังหวัดพิษณุโลกสนับสนุนข้อมูลด้านการนำเชื้อเพลิงขยะไปผลิตเป็นพลังงาน จากความสำเร็จของการดำเนินการ ทำให้ชุมชนบ้านคลองเป็นต้นแบบและสามารถนำแนวทางการจัดการขยะขยายผลไปสู่พื้นที่ชุมชนอื่นในเขตเทศบาล พร้อมกับปรับปรุงแก้ไขปัญหาการจัดการขยะของแต่ละชุมชนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จัดทำบทความโดย นางสาวศิริวรรณ ลาภทับทิมทอง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม


เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ (มปพ). คู่มือการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยสำหรับเยาวชน

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ (2561). เทศบาลตำบลบ้านคลองจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือหรือ MOU กับ บริษัท วงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในการสร้างต้นแบบความร่วมมือขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตามหลัก 3Rs. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565. จากเว็บไซต์ : https://thainews.prd.go.th/th/news/print_ news/ TNSOC6107240010067

พิษณุโลกฮอตนิวส์. (2561). ทต.บ้านคลอง MOU สร้างต้นแบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตามหลัก 3Rs ประชารัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565. จากเว็บไซต์: https://www.phitsanulokhotnews.com/2018/07/24/120956

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร.
EnergyNext. ไขข้อข้องใจ คนไทยได้ประโยชน์อะไรจากโรงไฟฟ้าขยะ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565. จากเว็บไซต์: http// //energynext.co.th/2021/02/คนไทยได้ประโยชน์อะไรจา/

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content