ฉลามมีบทบาทมากกว่า..ชอบงับคุณ..นะ

หากกล่าวถึง “ฉลาม” คุณนึกถึงอะไร ? นึกถึงความดุร้าย ความโหดเหี้ยม ภาพลักษณ์ที่น่ากลัวหรือแม้แต่ภาพจำของเจ้าฉลามที่ปรากฏตัวเป็นวายร้ายจอมเขมือบในภาพยนตร์ต่าง ๆ แต่แท้จริงแล้วจากฉลามทั่วโลกที่มีมากกว่า 500 ชนิด มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้นที่มีนิสัยดุร้ายตามสัญชาตญาณของนักล่า และมนุษย์เองก็ไม่ใช่อาหารจานโปรด เพราะสำหรับเจ้าฉลามแล้วนั้น เนื้อมนุษย์ทั้งไม่มีสารอาหาร และไม่อร่อยเอาเสียเลย…

เรือแคนูอยู่บนฉลามวาฬที่อยู่ใต้ทะเล

เราคงเคยได้ดูหรือคุ้นตากันมาบ้าง สำหรับภาพยนตร์ที่มีฉลามเป็นตัวละครหลักในเรื่อง เช่น Jaws (1975) , Deep Blue Sea (1999) , The Meg (2018) , Great White (2021) เห็นได้ชัดว่า ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านมาแค่ไหน เจ้าฉลามมักถูกสร้างให้เป็นตัวละครที่มีบทบาทน่าสะพรึงกลัว ดุร้าย ผู้คนต้องหนีเพื่อเอาชีวิตรอดจากการถูกโจมตี แต่จากสถิติที่ผ่านมา การที่เจ้าฉลามจะงับหรือจู่โจมมนุษย์นั้นน้อยกว่าที่คิด และส่วนมากก็ไม่ได้ตั้งใจงับด้วย ถึงขนาดมีคนพูดติดตลกไว้ว่า ถังแก๊สในบ้านยังมีความอันตรายต่อมนุษย์มากกกว่าเจ้าฉลามเสียอีกนะ แต่การที่ฉลามโจมตีมนุษย์มักเกิดจากความเข้าใจผิด (น้องเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ดีสักเท่าไหร่) มองที่ผิวน้ำแล้วคิดว่าเป็นเมนูสุดโปรดจำพวกแมวน้ำหรือปลาเลยว่ายไปงับเข้าให้ แต่เมื่อสัมผัสรสชาติแล้วก็รู้ทันทีว่าไม่ใช่เหยื่อที่ต้องการ เจ้าฉลามก็ปล่อยแล้วว่ายน้ำหนีไป และจากการงับโดยไม่ตั้งใจนั้นก็ทิ้งให้เหยื่อผู้โชคร้ายได้รับบาดเจ็บสาหัสหนัก แผลใหญ่เอาการเลยทีเดียว

เจ้าฉลาม…นักล่าผู้รักษาความสมดุลแห่งน่านน้ำ คงไม่บ่อยนักที่เวลาพูดถึงฉลามแล้วผู้คนจะเล่าขานหรือเล็งเห็นถึงความสำคัญของน้องที่มีต่อระบบนิเวศ ทั้ง ๆ ที่ในความจริงนั้น ในฐานะนักล่าลำดับสูงสุด น้องนี่แหละที่เป็นผู้รักษาสมดุลห่วงโซ่อาหารที่สำคัญ มีบทบาทช่วยรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลให้สะอาดและมีความสมบูรณ์ อย่างเหยื่ออันดับแรกที่น้องจะมองหา คือพวกสัตว์ที่เชื่องช้า อ่อนแอ หรือกำลังจะตาย ทำให้ตัวที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้นดำรงชีวิตอยู่เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป (การที่น้องคอยกินซากของสัตว์ที่ตายแล้ว ยังเป็นการช่วยจำกัดเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายได้ด้วยนะ) อีกทั้งยังควบคุมพฤติกรรมของปลากินเหยื่อขนาดเล็กรองลงมาให้สมดุล ทำให้บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายมีการแบ่งทรัพยากรใช้กันอย่างเหมาะสม รักษาสมดุลประชากรปลากินพืชให้อยู่ในระดับพอดี ไม่สร้างความเสียหายให้กับถิ่นที่อยู่อาศัย

ถึงแม้เจ้าฉลามจะมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ และปัจจุบันผู้คนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ฉลามกันมากขึ้น แต่จากการสำรวจปริมาณประชากรฉลามในประเทศไทยยังถือว่า
มีแนวโน้มลดลง บ่งชี้ว่าทรัพยากรฉลามกำลังถูกคุกคามและอยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบจากการทำประมงด้วยเครื่องมือ และวิธีการทำประมงที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ส่งผลให้เจ้าฉลามพลอยถูกจับขึ้นมาด้วยโดยบังเอิญ) จึงจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการและอนุรักษ์ไว้ โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอ
แผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการฉลามของประเทศไทย (NPOA-Sharks) ของกรมประมง ทำให้ทราบว่าหน่วยงานมีการดำเนินการเพื่อศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลชีววิทยา นิเวศวิทยา การประมงและการใช้ประโยชน์ฉลามในน่านน้ำไทย มีการประเมินสถานภาพและภัยคุกคามที่เกิดจากการประมงและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการในเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรฉลามอย่างยั่งยืน

การอนุรักษ์ฉลามไว้ให้คงอยู่ในท้องทะเลต่อไป เป็นหน้าที่ของเราทุกคน และหวังไว้ว่าเมื่อเวลาเราเห็นครีบหลังอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าฉลามครั้งใด จะไม่นึกถึงแต่ภาพลักษณ์ที่ดุร้ายเพียง
อย่างเดียว แต่จะตระหนักถึงคุณค่าของการมีอยู่ของฉลามที่มีต่อระบบนิเวศ บทบาทสำคัญของฉลามต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ฉลามเพื่อให้คงอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน

บทความโดย นางสาวนลินี ชัยสนิท นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (กลช.)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KM for Journey to be the writer

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content