ครม. ไฟเขียว เดินหน้าร่วมกลุ่ม HAC

ครม. ไฟเขียว เดินหน้าร่วมกลุ่ม HAC

? ที่ประชุม ครม. (8 พ.ย. 65) เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เสนอ เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเข้าร่วมกับประชาคมโลกในการปกป้องพื้นที่ทางบกและทางทะเลของโลกให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 100 ประเทศ

เป้าหมายหลักของกลุ่มมี ดังนี้
1. ปกป้องคุ้มครองพื้นที่ทางบกและทางทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่โลกภายในปี ค.ศ. 2030
2. ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (nature-based solutions)
3. การดำเนินงานตามกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก

โดยประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้าร่วมกลุ่ม HAC คือ
1. การสนับสนุนด้านการเงินในการยกระดับสินค้าและบริการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
2. การสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด
3. การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมระหว่างชุมชนเจ้าของทรัพยากรกับภาคเอกชนที่จะนำทรัพยากรไปต่อยอดใช้ประโยชน์

เป้าหมาย 30×30 เป็นเป้าหมายระดับโลกซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนทั้งทางบกและทางทะเล การป้องกันโรคระบาดในอนาคต การส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพ เพิ่มพูนผลิตประมง ตลอดจนการยกระดับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นที่มีส่วนสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และสนับสนุนการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solution) ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญในการบูรณาการระหว่างอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) และกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework on Climate Change Convention: UNFCCC) ที่ สผ. เป็นหน่วยประสานงานกลาง

การเข้าร่วมกลุ่ม HAC ครั้งนี้ นอกเหนือจากมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ได้ร้อยละ 55 ภายในปี พ.ศ. 2580 แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในวาระที่ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีกำหนดการเข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรีในวาระเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่าง วันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2565 และจะเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญภายใต้กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. 2020 (Post-2020 Global Biodiversity Framework) ซึ่งจะได้รับการรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 ช่วงที่ 2 (CBD COP 15 Part 2 หรือ CBD COP 15.2) ในระหว่างวันที่ 7-19 ธันวาคม 2565 ที่จะถึงนี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content