ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในวงกว้าง ปัญหามลพิษ น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินเสื่อมสภาพ ฝนกรด ไฟป่า ระบบนิเวศถูกทำลาย ฯลฯ เกิดจากปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น ในทุกๆ ปี

ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากขึ้น หลายประเทศวางแผนการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมปัญหาในจุดเล็ก ๆ ไปจนถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้น สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านมลพิษและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นแนวคิดสำคัญ ที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาของสังคมโลกและสังคมไทยมากขึ้น ด้วยความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ตั้งเป้าหมาย กำหนดนโยบายและทิศทางองค์กร “สร้างสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในปี 2580”  ให้สอดคล้องกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น โดยนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) 17 มาเป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน ตามที่ประเทศไทยได้ประกาศเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน เข้ามาประกอบเป็นนโยบายหลักในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงาน

สผ. ได้ดำเนินการตามพันธกิจการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมขอบเขตงาน ทั้งด้านจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการแบบบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การรักษาสภาพแวดล้อมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน  รวมถึงดำเนินงานและวางมาตรการสู่การปฏิบัติ ติดตามประเมิน เสนอแนะและรายงานผลบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สร้างความรู้ความเข้าใจทุกภาคส่วนและสื่อสารเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างกลไกขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศที่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเป็นไปตามภารกิจของสำนักงาน รวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยบริหารจัดการองค์กรตามมาตรฐานสากล เช่น เกณฑ์การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)  เกณฑ์การประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)  การประเมินสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และการสร้างสภาพแวดล้อมภายในเพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กรไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 

ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาควิชาการ ภาคปฏิบัติ ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างยั่งยืน เช่น ในภาควิชาการ ได้ร่วมมือกับผู้ที่มีความรู้และมีประสบการณ์จากหน่วยงานหรือสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน มาร่วมเป็น กรรมการ อนุกรรมการ ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ปรึกษางานด้านวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศ และในภาคการปฏิบัติ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทุกระดับที่ปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ เช่น เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น เครือข่ายการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เฉพาะ เช่น พื้นที่ป่าต้นน้ำ และพื้นที่รอบมรดกโลก  

ด้านการพัฒนาวิชาการ สผ. ได้นำแนวทางการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge  Management) ในการยกระดับในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  มีการรวบรวม ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีไปยังบุคลากรอื่นอย่างสม่ำเสมอ โดยจัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้เฉพาะด้าน การจัดประชุมวิชาการ สผ. การนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเครื่องมือ กลไก และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น อียู UNEP GIZ  JICA  KOICA หรือประเทศต่างๆ การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของบุคลากรและเครือข่ายในวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดแปลเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานเครือข่าย สถานทูตที่ตั้งอยู่ในประเทศ และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ  

นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำ KM Team และร่วมกันถอดบทเรียนจากหน่วยงานที่มีการปฏิบัติที่ดีเลิศ พร้อมกับนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับงานด้านการบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล  มุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการบนพื้นฐานความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน  จนได้รับรางวัลเลิศรัฐ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้หน่วยงานรัฐที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2563 ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับก้าวหน้า (Advance) และรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลร่วมใจแก้จน (Antipoverty Empowered) ระดับดี: กองทุนสิ่งแวดล้อมกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม  รวมถึงได้รับรางวัลบริหารกองทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2563  จากกระทรวงการคลัง

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สผ. ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งความรับผิดชอบ และร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืน อาทิ ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในงานวันสิ่งแวดล้อมไทย และวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ มอบหนังสือและสิ่งของจำเป็นให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ส่งเสริมการคัดแยกขยะต้นทาง เพื่อนำพลาสติกไปเป็นบุญ การคัดแยกขยะอันตรายประเภทถ่านไฟฉายและหลอดไฟเก่า การซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  การจัดประชุมในโรงแรมที่ได้รับการรับรองโรงแรมสีเขียว หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการเข้าร่วมประเมินโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยในปี 2562 ได้รับการประเมินอยู่ในระดับดีมาก   และ ได้ออกแบบอาคารสำนักงานฯ หลังใหม่ ทดแทน อาคารเดิม ในรูปแบบอาคารสีเขียว ( Green Building)  เพื่อให้เป็นอาคารที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อันเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content