การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๑๖ (16th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment: 16th AMME)

เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๑๖ (16th ASEAN Ministerial Meeting on the Environment: 16th AMME) ผ่านระบบประชุมทางไกล ณ ห้องประชุม ชั้น ๑๗ อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้นโดยสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน ซึ่ง รมว.ทส. ได้เรียกร้องให้สมาชิกอาเซียนดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อเร่งฟื้นฟูอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากสถานการณ์โควิด ๑๙ โดยประเทศไทยได้ดำเนินนโยบาย BCG ซึ่งเป็น “วาระแห่งชาติ” ในการฟื้นฟูที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนากรอบนโยบาย อาทิ พรบ. ป่าไม้ พรบ. ความหลายหลายทางชีวภาพ และ พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ดำเนินงานตาม NDCs เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซ GHG ลง ร้อยละ 20 รวมทั้งพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Long-Term Low GHG Development Strategy) เพื่อให้บรรลุ net-zero emission ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และยังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเล โดยเสนอให้จัดตั้ง Ad-hoc task force ตลอดจนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกก้าวไปสู่การเป็นภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควัน ซึ่งประเทศไทยจะร่วมมือกับภูมิภาคต่อไป

โดยที่ประชุมได้ให้การรับรองเมืองที่ได้รับรางวัลเมืองอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน ครั้งที่ ๕ และรางวัล ฯ ประเภทแข่งขัน ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๖๔ (Selection Panel Meeting of the 5th ASEAN ESC Award & 4th Certificates of Recognition 2021) สำหรับประเทศไทยมีเมืองที่เข้ารับรางวัลฯ ประเภทเสนอโดยประเทศ ได้แก่ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา ประเภทแข่งขัน ได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (ด้านอากาศ) เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ด้านน้ำ) และเทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (ด้านขยะและพื้นที่สีเขียว) และร่างแถลงการณ์ร่วม ASEAN Joint Statement to the CBD COP15 ได้รับการรับรองจาก AMME โดยการแจ้งเวียน (ad-ref endorsement) เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ซึ่งได้นำเสนอในที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๕ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ ให้การรับรองพร้อมทั้งรวมกันหารือร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเป็นผลลัพธ์สำหรับให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๘ และนำเสนอต่อที่ประชุม COP UNFCCC 26 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร

จัดทำและเผยแพร่โดย กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content