การประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ผ่านระบบ VDO conference โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองประธาน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการและเลขานุการดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และนายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ที่ประชุมฯ ได้มีการพิจารณารายงาน EIA จำนวน ๕ โครงการ ซึ่งเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน ๒ โครงการ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ตามแผน PDP 2018 ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ ๘ – ๙ และโครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ ๑ – ๒ และของกรมชลประทาน จำนวน ๒ โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชน ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำญวน จังหวัดพะเยา และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม – อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และอีก ๑ โครงการของกรมทางหลวง คือ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ ทั้งนี้ เจ้าของโครงการ ต้องดำเนินการตามมาตรการฯ ที่กำหนดในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุม ได้พิจารณาการกำหนดเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การปลูกป่าทดแทน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ สำหรับโครงการหน่วยงานรัฐ พิจารณาการกำหนดอัตราค่าบริการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ใน อปท. ๔ พื้นที่ รวมทั้งได้พิจารณาประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งผู้ดำเนินการ หรือผู้ขออนุญาตจะต้องจัดทำเมื่อได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจการแล้ว พ.ศ. ๒๕๖๑ และการขอขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงฯ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ออกไปอีก ๒ ปี ในส่วนของการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมได้พิจารณาร่างมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะ เพื่อให้เกาะท่องเที่ยวจำนวน ๑๔ เกาะสามารถบริหารจัดการขยะมูลฝอย ได้เบ็ดเสร็จ และสถานการณ์การเกิดเหตุเพลิงไหม้ กรณีโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรการสำหรับหน่วยงานเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป ในส่วนของการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาปรับปรุงค่ามาตรฐานก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากไอเสียรถยนต์ใช้งานขนาดเล็ก และกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานประกอบการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการบางประเภท ซึ่งมีกำลังการผลิตไม่ถึง ๕๐ แรงม้า

จัดทำและเผยแพร่โดย: กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content