29 ตุลาคม 2563 นักวิทย์ค้นพบแนวปะการังใต้ทะเลออสซี่ สูงกว่าตึกเอมไพร์สเตท

ที่มา:

https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_5207221

การค้นพบแนวปะการังขนาดมหึมาบนก้นมหาสมุทรที่แยกจากพืดหินปะการัง เกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ออกไปทางเหนือ นอกชายฝั่งเคปยอร์ก รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในรอบ ๑๒๐ ปี แนวปะการังมีลักษณะเหมือนใบมีด ความกว้าง ๑.๕ กม. ความลึกตื้นสุดใต้ผิวน้ำทะเลเพียง ๔๐ ม. แต่ความสูงทั้งหมด ๕๐๐ ม. แซงความสูงของเอ็มไพร์สเตทบิลดิงตึกระฟ้าของนิวยอร์กของประแทศสหรัฐอเมริกา และตึกแฝดปิโตรนาส ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ของประเทศมาเลเซีย คณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันชมิดท์โอเชียน องค์การไม่แสวงกำไรในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ล่องเรือวิจัย ฟัลคอร์ (Falkor) ใช้หุ่นยนต์ใต้น้ำ ซูบัสเตียน (SuBastian) ซึ่งไลฟ์สตรีมวิดีโอการสำรวจและค้นพบแนวปะการังดังกล่าว เผยแพร่ทางช่องยูทูบ นอกจากนี้ คณะนักวิจัยทำแผนที่สามมิติก้นทะเลในบริเวณดังกล่าวด้วย ดร. โชติกา วีรมณี กรรมการบริหารสถาบันชมิดท์โอเขียนกล่าวว่า การค้นพบแนวปะการังใหม่จะไขความลึกลับว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟอยู่ห่างแนวชายฝั่งของเราอย่างไร “การรวบรวมข้อมูลแผนที่และมโนภาพใต้น้ำทรงพลังจะนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจแนวปะการังใหม่นี้ และบทบาทของแนวปะการังดังกล่าวภายในเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งเป็นเขตมรดกโลก” ดร.วีรมณีกล่าว เวนดี ชมิดท์ ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันชมิดท์โอเชียน ระบุว่า การค้นพบคาดไม่ถึงนี้ยืนยันว่า เราจะค้นพบแนวปะการังที่ไม่เคยรู้จัก และสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ ในมหาสมุทรของเราอีก “เรามีความรู้อย่างจำกัดเกี่ยวกับสรรพสิ่งในมหาสมุทร แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นแขนขาในมหาสมุทรลึก เราจึงสามารถสำรวจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ภาพมหาสมุทรใหม่กำลังเปิดให้เราเห็นระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตหลากหลายรูปแบบที่อยู่ร่วมกับเราบนโลกใบนี้” ชมิดท์กล่าว

การค้นพบแนวปะการังใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งภารกิจ ๑๒ เดือน ของคณะนักวิจัยสถาบันชมิดท์โอเชียนที่ล่องเรือสำรวจมหาสมุทรรอบประเทศออสเตรเลีย ซึ่งค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ ๓๐ สายพันธุ์ รวมถึงไซฟอรโนฟอร์ (siphonophore) สัตว์ทะเลลึกตัวยาวที่สุดในโลก ๔๕ ม. ในหุบเขาลึกนอกชายฝั่งออสเตรเลียตะวันตกเมื่อเดือน เม.ย. ปีนี้ อยู่ในเครือเดียวกับแมงกะพรุนและปะการัง หลายชนิดมีตัวเรืองแสงสีเขียวหรือสีฟ้าเพื่อล่อเหยื่อ ในเดือน ส.ค. เป็นการค้นพบฟองน้ำและปะการังดำแต่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ได้ และแมงป่องหายากครั้งแรกของประเทศออสเตรเลีย เกรตแบร์ริเออร์รีฟเป็นพืดหินปะการังขนาดใหญ่สุดของโลกด้วยความยาวกว่า ๒,๓๐๐ กม. เป็นถิ่นอาศัยของปลามากกว่า ๑,๕๐๐ สายพันธุ์ใหม่ ปะการังแข็งอีก ๔๑๑ สายพันธุ์ และสิ่งมีชีวิตหลายสิบสายพันธุ์

เกรตแบร์ริเออร์รีฟได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ในฐานะทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์และธรรมชาติมหาศาล ทว่าหลายปีที่ผ่านมาได้รับความเสียหายอย่างมากมายจากน้ำทะเลอุ่นขึ้น ซึ่งกัดเซาะปะการัง ทำให้สัตว์ทะเลกระจายตัวจากถิ่นอาศัย และเร่งการเติบโตสาหร่ายและสารปนเปื้อนอื่นๆ ก่อนหน้าเดือนเดียวกันนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์พบว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟสูญเสียแนวปะการังมากกว่าครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เนื่องด้วยทะเลอุ่นขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content