2 มกราคม 2566 กิจกรรม “มนุษย์” ทำลายทะเล หวั่นสิ่งมีชีวิตจ่อคิวสูญพันธุ์

IUCN เผยข่าวร้าย ชี้ กิจกรรม “มนุษย์” ในปัจจุบัน คุกคามสิ่งมีชีวิตในทะเลหวั่นหลายชนิดจ่อคิวสูญพันธุ์องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) เผย ข่าวร้าย ชี้ กิจกรรม “มนุษย์” ทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในทะเล หวั่นกระทบสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) อัปเดทสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตในบัญชีแดง เน้นย้ำถึงภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
ในทะเล ทั้ง การทำประมงที่ผิดกฎหมายและไม่ยั่งยืน มลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโรคภัยไข้เจ็บ
ปัจจุบัน IUCN Red List มีทั้งหมด 150,388 ชนิด โดย 42,108 ชนิด กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ สัตว์และพืชทะเล
กว่า 1,550 ชนิดจากทั้งหมด 17,903 ชนิด มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ปะการัง และอื่น ๆ อย่างน้อย 41% จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Dr. Bruno Oberle ผู้อำนวย IUCN เผยว่า “ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมของ“มนุษย์” กำลังทำลายสิ่งมีชีวิตทางทะเลทั่วโลก พร้อมเรียกร้องให้หันมาจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจ มิฉะนั้นเราอาจเสี่ยงที่จะสูญเสียผลประโยชน์สำคัญที่ท้องทะเลมอบให้เรา” ตัวอย่างสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น หอยเป๋าฮื้อ อาหารทะเลที่แพงที่สุดในโลก ถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคภัยไข้เจ็บ และมลพิษ ปัจจุบัน หอยเป๋าฮื้อ 20 สายพันธุ์จาก 54 สายพันธุ์ของโลกกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ และประชากรพะยูนในแอฟริกาตะวันออกและ นิวแคลิโดเนีย อยู่ในลิสต์บัญชีแดงสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติและใกล้สูญพันธุ์ตามลำดับ โดยภัยคุกคามหลักมาจาก เครื่องมือประมง การสำรวจ เพื่อผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มลพิษทางทะเล การพัฒนาชายฝั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต กำลังสร้างความเสียหายและทำลายหญ้าทะเล โดยความเสื่อมโทรมและการสูญเสียหญ้าทะเลในนิวแคลิโดเนียเป็นผลมาจากการไหลบ่าของเกษตรกรรม มลพิษจากการทำเหมืองนิกเกิลและการพัฒนาชายฝั่ง ปัจจุบัน โลกเผชิญปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของ “มนุษย์” ไม่ว่าจะเป็น การทำลายพื้นที่ธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรเกินขนาด การตัดไม้ทำลายป่า สายพันธุ์รุกรานต่างถิ่น วิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและโลก จึงจำเป็นต้องปกป้อง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15) เห็นชอบเป้าหมายของกรอบความร่วมมือนี้ ด้วยการคุ้มครองและปกป้องพื้นที่ 30% ของโลก ทั้งบนผืนดินและในมหาสมุทรภายในปี 2030 สนับสนุนเงินทุนเพื่อการอนุรักษ์ และการแก้ไขปัญหาสายพันธุ์รุกรานต่างถิ่น นอกจากนี้ IUCN ยังได้เรียกร้องให้กรอบความตกลงดังกล่าว เร่งมาตรการในการปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติ เพื่อหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ