4 พฤศจิกายน 2567 เยือน! มหานครฉงชิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่ เมืองที่อากาศแย่ สู่..เมืองสีเขียว

เยือน! มหานครฉงชิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่ เมืองที่อากาศแย่ สู่..เมืองสีเขียว

พาเยือน! มหานครฉงชิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่ เมืองที่ในอดีตขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่อากาศแย่ สู่..เมืองสีเขียวในปัจจุบัน เขาทำได้ไง?

ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาเมืองของตัวเองสู่ความเป็นเมืองสีเขียว ทั้งปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อมารองรับการขยายตัว รวมถึงการปลูกฝังจิตสำนึกของพลเมืองให้หันมารักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม บางเมืองใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเข้ามาจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและได้ผลผลลัพธ์ที่ดี พลิกโฉมจากเมืองที่อากาศยอดแย่สู่เมืองมหานครสีเขียว เขาทำได้อย่างไร? #สปริงนิวส์ ได้มีโอกาสเยือน “มหานครฉงชิ่ง” จีนแผ่นดินใหญ่ ในโครงการ “มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทยควรรู้” ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 24-30 ตุลาคม 67 ที่ผ่านมา จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

โดยการได้ไปศึกษาดูงานในหลายที่ในมหานครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเมืองของจีนมากมาย มหานครฉงชิ่ง มหานครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีเนื้อที่ราว 82,400 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับภาคกลางของประเทศไทย มีประชาก 32 ล้านคน โดยมหานครแห่งนี้เป็นเมืองเศรษฐกิจทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งมหานครแห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา แต่จีนสามารถเนรมิตให้เป็นเมืองการค้าการลงทุนที่สำคัญได้

ย้อนไปเมื่อ10 ปีก่อน เมืองเศรษฐกิจของแผ่นดินใหญ่แห่งนี้ เคยประสบปัญหามลพิษอากาศอย่างมาก มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรม การเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้รัฐบาลเร่งออกนโยบายทุกทางเพื่อแก้ปัญหา ที่รู้จักกันก็คือ สงครามปกป้องท้องฟ้าสีคราม (Blue sky defense battle) รวมถึงนโยบายการส่งเสริมพลังงานสะอาด โดยเมืองแห่งนี้มี Green Chongqing ที่สำคัญ อาทิ

  • ภูมิทัศน์สวยงาม ต้นไม้ใหญ่ พร้อมพื้นที่สีเขียวสองข้างถนนถูกจัดการเป็นอย่างดี
  • องค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGO..ได้เข้ามามีส่วนช่วยเฝ้าระวังมลพิษ และทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นเยาวชน และสังคมให้เรียนรู้ และปกป้องธรรมชาติ เช่น กรณีศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติ การอนุรักษ์นกอินทรี
  • ขยายชุมชนเกษตรอินทรีย์ โดยนำองค์ความรู้สมัยใหม่เข้ามาใช้ในการทำเกษตร มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตชนบท สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น โดยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ อย่างกรณีเมืองดาชู (Dashu Town)
  • ป้ายทะเบียนรถยนต์แยก 2 สี ชัดเจน ให้เข้าใจว่าป้ายทะเบียนสีเขียวคือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV (Electricity vehicle) ซึ่งมีประมาณ 20% ในเมืองนี้ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนป้ายทะเบียนสีน้ำเงินคือ รถที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิม

พัฒนาเทคโนโลยีระบบชาร์จสำหรับรถยนต์ EV และขยายจุด/สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ EV ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตเมือง แม้ยังมีจำกัดในเขตพื้นที่ชนบท

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy