6 กรกฎาคม 2567 ต้องฆ่านกยูงอินเดีย ป่าห้วยขาแข้ง ก่อนนกยูงไทยสูญพันธุ์ สะเทือนระบบนิเวศ

นกยูงอินเดียที่เริ่มผสมพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ

ที่มา https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2798001

ตัวนกยูงอินเดียสีขาว ซึ่งหากินปะปนร่วมกับฝูงนกยูงไทยประมาณ 10 ตัว ด้วยการวางกรงดักยังไม่สามารถจับตัวได้ เนื่องจากนกยูงอินเดียสีขาวมีความว่องไว ก็ต้องฆ่าทิ้ง เหมือนกับหลายประเทศที่ทำกัน ไม่ให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ

นกยูงอินเดียที่พลัดหลงเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เกิดจากการขนส่งเคลื่อนย้ายด้วยน้ำมือมนุษย์ ทำให้เกิดความเสียหาย จนถึงขณะนี้ไม่สามารถจับตัวนกยูงอินเดียได้ เพราะป่าห้วยขาแข้ง มีเนื้อที่กว้างมาก 1 ล้าน 7 แสนไร่ และช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่นกยูงเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์
ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน หากไม่สามารถจับได้ หรือการุณยฆาตได้ จะเสียหายหนักมาก อย่างประเทศออสเตรเลีย ก็เปิดให้มีการล่าจิงโจ้ เพื่อควบคุมประชากรจิงโจ้ เป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการ เพื่อรักษาระบบนิเวศ

ปัญหาเกิดขึ้นแล้วจะทำอย่างไรในการบริหารจัดการ เพื่อให้เสียหายให้น้อยที่สุด เช่นเดียวกับการกำจัดนกยูงอินเดีย ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าฯ จะรักษาระบบนิเวศให้เสียหายน้อยที่สุด จากเอเลี่ยนสปีชีส์ อาจสะเทือนใจคนรักสัตว์ แต่ก็ต้องเข้าใจ เพราะจริงๆแล้วเขาไม่อยากฆ่า ถ้าจับได้ก็คงจับได้แล้ว อีกทั้งเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ จนเกิดความกังวลเกรงว่าจะมีการผสมข้ามสายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy