31 พฤษภาคม 2567 “วันนากโลก” ร่วมรณรงค์ไม่นำมาเลี้ยง เสี่ยงใกล้สูญพันธ์ เพื่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์

ที่มา https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8258446
กองทุนเพื่อความอยู่รอดของนากระหว่างประเทศ (International Otter Survival Fund) หรือ IOSF กำหนดให้เป็น
“วันนากโลก” ซึ่งจะตรงกับวันพุธสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมในทุกปี
ทั้งนี้ เพื่อให้ตระหนักถึงภัยคุกคามที่มีต่อนาก อาทิ การคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย การค้าขนสัตว์ผิดกฎหมาย การลักลอบนำมาเลี้ยง ปัญหามลภาวะ และการล่า
นาก เป็นสัตว์ในตระกูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด กินปลาเป็นอาหารหลัก และในปัจจุบันบนโลกเรามีนากอยู่มากถึง 13 ชนิด อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในประเทศไทยพบนากอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ นากใหญ่ขนเรียบ (Smooth-coated Otter) นากเล็กเล็บสั้น (Asian Small-clawed Otter) นากใหญ่ธรรมดา (Eurasian Otter) และนากใหญ่ขนเรียบนากจมูกขน หรือ นากใหญ่หัวปลาดุก (Hairy-nosed Otter) ปัจจุบันนากทั้ง 4 ชนิด ถูกขึ้นบัญชีแดงจาก IUCN ในการให้สถานระดับการใกล้สูญพันธุ์
นากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งในธรรมชาตินากมีหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาห่วงโซ่อาหารให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นหากไม่มีนากอยู่ในป่า ก็จะทำให้ระบบนิเวศแห่งนั้นสูญเสียความสมดุลไป และยากต่อการฟื้นฟูให้กลับมาดังเดิม
มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติด้วยการปล่อยให้นากได้อยู่กับธรรมชาติที่ดี และปลอดภัย สามารถเริ่มจากตัวเราได้ง่าย ๆ ด้วยการไม่ทำลายระบบนิเวศในแม่น้ำ ลดการทำลายพื้นที่ป่า ที่สำคัญอย่าลืมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพียงเท่านี้ก็ทำให้ เหล่านักล่าแห่งน่านน้ำที่น่ารักอยู่คู่กับประเทศไทยให้เราได้เชยชมไปได้อย่างยาวนาน