19 พฤษภาคม 2567 จีนเปลี่ยน “ฟาง” เป็น “พลังงาน” หนุนรักษ์สิ่งแวดล้อม

จีนเปลี่ยน “ฟาง” เป็น “พลังงาน” หนุนรักษ์สิ่งแวดล้อม

ที่มา: https://www.thaipbs.or.th/now/content/1161

จีนกำลังเดินหน้าผลักดันการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานชีวมวล เพื่อช่วยบรรลุเป้าหมาย “คาร์บอนคู่ขนาน” (Dual Carbon) ซึ่งบริษัทเซิ่งเฉวียน กรุ๊ป ในนครจี่หนาน มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีนก็ได้ทำตามแผนการนี้ ด้วยการเปลี่ยนฟางพืชประเภทต่าง ๆ สู่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เกาเส้าเฟิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชีวมวลของเซิ่งเฉวียน กรุ๊ป (Shengquan Group) กล่าวว่า ส่วนประกอบหลักในฟาง ได้แก่ เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ลิกนิน (lignin) และเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ได้หลายแบบ อาทิ สารทดแทนปิโตรเลียมและถ่านหิน เมทานอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เอทานอลจากเซลลูโลส น้ำมันก๊าดสำหรับการบิน น้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าดชีวภาพ และอื่น ๆ โดยบริษัทเซิ่งเฉวียนดำเนินโครงการกลั่นชีวมวลระดับล้านตันแบบบูรณาการระยะแรกมาตั้งแต่ปี 2023 จนขณะนี้สามารถแปรรูปฟางพืชได้ 500,000 ตันต่อปี ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 600,000 – 700,000 ตันต่อปี

ด้านถังเจิงหยวน กรรมการผู้จัดการฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศของเซิ่งเฉวียน กรุ๊ป กล่าวว่า ปัจจุบันสินค้าส่งออกหลักคือฟีนอลิกเรซิน (phenolic resin) และเรซินสำหรับหล่อ โดยมีประเทศปลายทางส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และอเมริกา พร้อมเสริมว่าเมื่อ 7 – 8 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทฯ มีอัตราการเติบโตอยู่ที่กว่าร้อยละ 20 ต่อปี และมีอัตราการเติบโตสูงสุดราวร้อยละ 30 เมื่อปีก่อน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy