15 มีนาคม 2567 ‘ฮ่องกง’ ผุดไอเดีย ‘ขยะแลกข้าว’ แก้ปัญหา ‘บ่อขยะ’ ใกล้เต็ม

‘ฮ่องกง’ ผุดไอเดีย ‘ขยะแลกข้าว’ แก้ปัญหา ‘บ่อขยะ’ ใกล้เต็ม

ที่มา : กรุงเทพธุรกิ(https://www.bangkokbiznews.com/environment/1117740)

ขยะ” กลายเป็นปัญหาหลักของเมืองใหญ่หลายแห่งในโลก หนึ่งในนั้นคือ “ฮ่องกง” เมืองที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลก กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง โดยรัฐบาลประเมินว่า “บ่อขยะ” ของฮ่องกงจะเต็มภายในปี 2026 และมี “ขยะอาหาร” 30% ที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ ส่งผลให้เกิด “ก๊าซมีเทน” จำนวนมาก และจนทำให้บ่อขยะกลายเป็นแหล่งกำเนิด “ก๊าซเรือนกระจก” ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของฮ่องกง ตามข้อมูลโครงการ “พิมพ์เขียวการบริหารจัดการขยะ” (Waste Blueprint for Hong Kong 2035) ระบุว่า รัฐบาลตั้งเป้าหมายระยะกลางจะลดปริมาณการกำจัดขยะมูลฝอยลง 40-45% และเพิ่มอัตราการนำกลับมารีไซเคิลได้เป็น 55% และตั้งเป้าจะเก็บค่าขยะราว 250 บาทต่อเดือน ข้อมูลจากกรมคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือ EPD ในปี 2022 ระบุว่าในแต่ละวันชาวฮ่องกงจะทิ้งขยะเฉลี่ยคนละ 1.51 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นๆ เช่น กรุงโซลอยู่ที่คนละ 0.94 กิโลกรัม ส่วนไทเปอยู่ที่ 0.4 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการเรียกเก็บค่าขยะจากภาครัฐ และทำให้คนในโซล และไทเป หันมานำขยะไปรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 50% นอกจากนี้ ฮ่องกงยังมีแผนจัดทำโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่เกาะเชกกวูเจ้า ทางตอนใต้ของเกาะลันเตา โดยแต่ละวันละสามารถใช้ขยะ 3,000 ตัน ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับ 100,000 ครัวเรือนต่อปี และรัฐบาลวางแผนที่จะมีโรงไฟฟ้าแห่งที่สองภายในทศวรรษที่ 2030 ซึ่งวางแผนว่าจะสามารถผลิตได้มากถึง 6,000 ตันต่อวัน “นิคมอุตสาหกรรมแปรรูปขยะ” ทางออกปัญหาขยะในปี 2022 ฮ่องกงมีขยะมูลฝอยสูงถึง 15,725 ตันต่อวัน โดย 68% ของขยะถูกส่งกลับไปยังสถานที่ฝังกลบ ที่เหลือจะถูกส่งไปรีไซเคิล ซึ่งมีประมาณ 78% ถูกส่งไปรีไซเคิลมีถูกส่งไปรีไซเคิลนอกเมือง และมีเพียง 7% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลในเมือง โดยขยะที่ถูกนำมารีไซเคิลนั้นจะเป็นพลาสติก โลหะ และขยะอาหาร หู หยานกั๋ว กรรมการบริหารและรองประธานของ China..Everbright Environment Group Limited ผู้พัฒนาโครงการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก กล่าวว่า ฮ่องกงควรจัดการปัญหาขยะด้วยการเผา ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถกำจัด และลดปริมาณขยะได้ และทั่วโลกนิยมใช้ ขยะ 80% ในญี่ปุ่นถูกกำจัดด้วยการเผา ขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ใช้การเผาถึง 70% ขณะที่ยุโรปใช้การเผา 27% ส่วนที่เหลือเป็นการรีไซเคิล นอกจากนี้ นายหู ยังแนะนำว่า ฮ่องกง ควรพิจารณาการสร้าง “นิคมอุตสาหกรรม” สำหรับการแปรรูปขยะประเภทต่างๆ เช่น ของแข็ง อาหาร และกากตะกอนน้ำเสีย โดยให้โรงงานต่างๆ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน วิธีนี้ช่วยให้นำไอน้ำ น้ำ และก๊าซมีเทนกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังสามารถความต้องการพลังงานในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน พร้อมลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้อีกด้วย “การพัฒนาโครงการแบบรวมศูนย์ยังสามารถส่งผลให้ประหยัดทรัพยากรที่ดิน การก่อสร้าง และต้นทุนการดำเนินงาน” เขากล่าว นายหู ยังอ้างถึงตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนในเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ที่มีโรงบำบัดขยะ 8 โรงอยู่รวมกันในพื้นที่ 2 ตารางกิโลเมตร โดยใช้งบประมาณลงทุนเพียง 279 ล้านดอลลาร์ และเตรียมจะสร้างเพิ่มเติมอีก 27 แห่ง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy